กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7473
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อการคิดแบบปรับเหมาะของนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Multi-level cusl model of fctors influencing dptive thinking of the students in voctionl eduction
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมพงษ์ ปั้นหุ่น
ไพรัตน์ วงษ์นาม
ศุภชัย ถึงเจริญ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: โมเดลพหุระดับ (สถิติ)
ความคิดและการคิด -- วิจัย
ทักษะทางการคิด--วิจัย
นักเรียนอาชีวศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบความตรงโมเดลการวัดพหุระดับที่ส่งผลต่อ การคิดแบบปรับเหมาะของนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยในสังกัดคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา และ 2) เพื่อพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อการคิดแบบปรับเหมาะของนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยในสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ด้วยการวิเคราะห์พหุระดับ โดยมีปัจจัยเชิงสาเหตุ 2 ระดับ คือ ระดับนักเรียน และระดับโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครูผู้สอน และนักเรียน จำนวน 1,270 คน วิทยาลัยในสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 39 แห่ง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน ตัวแปร ที่ใช้ทำนายระดับนักเรียน คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความถนัดทางการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่อ ในสมรรถภาพตน ลักษณะนิสัย ตัวแปรทำนายระดับโรงเรียน ได้แก่ บรรยากาศในห้องเรียน คุณลักษณะของครู การสนับสนุนให้จัดกิจกรรมส่งเสริมการคิด และ การสอนเชิงสร้างสรรค์ ตัวแปรตาม คือ การคิดแบบปรับเหมาะของนักเรียน นักศึกษา มี 6 ตัว คือ ความคล่องตัว การวิเคราะห์วิทยาการบริการการคิดอย่างนักออกแบบ ความยืดหยุ่น การคิดเชิงระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีความตรงเชิงเนื้อหา และ ความเชื่อมั่นสูง การตรวจสอบความตรงของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พหุระดับ โดยโปรแกรม Mplus 6.12 ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลการวัดพหุระดับการคิดแบบปรับเหมาะของนักเรียน นักศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ค่า 2 = 25.115*, df = 20, p = .1971, 2/ df = 1.256, RMSEA = .017, = .996, = .993, SRMRw = .013, SRMRb = .038 เป็นไปตามเกณฑ์ 2. โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อความคิดแบบปรับเหมาะระดับนักเรียน พบว่า โมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณา 2 = 189.887, df = 110, p = .000, RMSEA = .028, CFI = .981, TLI = .975, SRMR = .020 นั่นคือ ยอมรับสมมติฐานหลักว่าโมเดลตามทฤษฎีมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2.1 ตัวแปรที่ใช้ทำนายระดับนักเรียน ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความเชื่อในสมรรถภาพตน และลักษณะนิสัยมีอิทธิพลต่อความคิดแบบปรับเหมาะของนักเรียน นักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ในส่วนความถนัดทางการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ไม่มีอิทธิพลต่อคิดแบบปรับเหมาะของนักเรียน นักศึกษา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายในระดับนักเรียน นักศึกษาเท่ากับร้อยละ 81.8 2.2 โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อความคิดแบบปรับเหมาะระดับโรงเรียน พบว่า ตัวแปรทำนายระดับโรงเรียนเรียน ได้แก่ บรรยากาศในห้องเรียน คุณลักษณะของครู การสนับสนุนให้จัดกิจกรรมส่งเสริมการคิด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการสอนเชิงสร้างสรรค ไม่มีอิทธิพลต่อความคิดแบบปรับเหมาะของนักเรียน นักศึกษา
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7473
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf917.3 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น