กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7473
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.advisorไพรัตน์ วงษ์นาม
dc.contributor.authorศุภชัย ถึงเจริญ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:59:00Z
dc.date.available2023-05-12T03:59:00Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7473
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบความตรงโมเดลการวัดพหุระดับที่ส่งผลต่อ การคิดแบบปรับเหมาะของนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยในสังกัดคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา และ 2) เพื่อพัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อการคิดแบบปรับเหมาะของนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยในสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ด้วยการวิเคราะห์พหุระดับ โดยมีปัจจัยเชิงสาเหตุ 2 ระดับ คือ ระดับนักเรียน และระดับโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครูผู้สอน และนักเรียน จำนวน 1,270 คน วิทยาลัยในสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 39 แห่ง โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบ 2 ขั้นตอน ตัวแปร ที่ใช้ทำนายระดับนักเรียน คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความถนัดทางการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความเชื่อ ในสมรรถภาพตน ลักษณะนิสัย ตัวแปรทำนายระดับโรงเรียน ได้แก่ บรรยากาศในห้องเรียน คุณลักษณะของครู การสนับสนุนให้จัดกิจกรรมส่งเสริมการคิด และ การสอนเชิงสร้างสรรค์ ตัวแปรตาม คือ การคิดแบบปรับเหมาะของนักเรียน นักศึกษา มี 6 ตัว คือ ความคล่องตัว การวิเคราะห์วิทยาการบริการการคิดอย่างนักออกแบบ ความยืดหยุ่น การคิดเชิงระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีความตรงเชิงเนื้อหา และ ความเชื่อมั่นสูง การตรวจสอบความตรงของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พหุระดับ โดยโปรแกรม Mplus 6.12 ผลการวิจัยพบว่า 1. โมเดลการวัดพหุระดับการคิดแบบปรับเหมาะของนักเรียน นักศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ค่า 2 = 25.115*, df = 20, p = .1971, 2/ df = 1.256, RMSEA = .017, = .996, = .993, SRMRw = .013, SRMRb = .038 เป็นไปตามเกณฑ์ 2. โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อความคิดแบบปรับเหมาะระดับนักเรียน พบว่า โมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณา 2 = 189.887, df = 110, p = .000, RMSEA = .028, CFI = .981, TLI = .975, SRMR = .020 นั่นคือ ยอมรับสมมติฐานหลักว่าโมเดลตามทฤษฎีมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2.1 ตัวแปรที่ใช้ทำนายระดับนักเรียน ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความเชื่อในสมรรถภาพตน และลักษณะนิสัยมีอิทธิพลต่อความคิดแบบปรับเหมาะของนักเรียน นักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ในส่วนความถนัดทางการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ไม่มีอิทธิพลต่อคิดแบบปรับเหมาะของนักเรียน นักศึกษา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายในระดับนักเรียน นักศึกษาเท่ากับร้อยละ 81.8 2.2 โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อความคิดแบบปรับเหมาะระดับโรงเรียน พบว่า ตัวแปรทำนายระดับโรงเรียนเรียน ได้แก่ บรรยากาศในห้องเรียน คุณลักษณะของครู การสนับสนุนให้จัดกิจกรรมส่งเสริมการคิด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการสอนเชิงสร้างสรรค ไม่มีอิทธิพลต่อความคิดแบบปรับเหมาะของนักเรียน นักศึกษา
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectโมเดลพหุระดับ (สถิติ)
dc.subjectความคิดและการคิด -- วิจัย
dc.subjectทักษะทางการคิด--วิจัย
dc.subjectนักเรียนอาชีวศึกษา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.titleปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อการคิดแบบปรับเหมาะของนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
dc.title.alternativeMulti-level cusl model of fctors influencing dptive thinking of the students in voctionl eduction
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to develop and to validate the multi-level measurement and the multi-level causal model of factors influencing adaptive thinking of the students in vocational education colleges. The sample comprised of 1,270 administrators, teachers and students of 39 vocational education colleges in academic year 2017, All participants were drawn by using two-stage random sampling. The predictive variables of student level were; achievement, aptitude, achievement motive, self-efficacy and personality. The predicting variables of school level were; classroom climate, teacher’s teaching behaviour, support for thinking activities and creative teaching. The dependent variable was adaptive thinking of the students in vocational education consisted of agility, analytic, service science, design thinking, resiliency and systems thinking. Research instrument was questionnaire, its contentvalidity and reliability met the researcher requirement at high level. Data were analyzed by using Mplus 6.12 program to validate both the multi-level measurement model and multi-level structural equation model to empirical data. Research findings were as follows; 1. The multi-level measurement model of adaptive thinking of the students in vocational education was consistent with empirical data (2 = 25.115*, df = 20, p = .1971, 2/ df = 1.256, RMSEA = .017, = .996, = .993, SRMRw = .013, SRMRb = .038) 2. The multi-level structural equation model of factors influencing adaptive thinking of the students in vocational education was consistent with the empirical data (2 = 189.887, df = 110, p = .000, RMSEA = .028, CFI = .981, TLI = .975, SRMR = .020). 2.1) Variables used to predict dependent variables at student level it was found that; aptitude and achievement motive did not have influence on adaptive thinking. The achievement, self-efficacy and personality variables influenced the effectiveness of adaptive thinking of the students in vocational education with statistical significance at .05 with the coefficient of determination at 81.8%. 2.2) All factors influencing adaptive thinking of the school level did not have any effect on adaptive thinking.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf917.3 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น