กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7462
ชื่อเรื่อง: การศึกษาค่าใช้จ่ายของการใช้น้ำประปากรณีศึกษาพื้นที่หมู่ที่ 8 ตำบลศีรษะจรเข้ใหญ่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The investigtion of wter supply cost in the re of villge no. 8, Sis Chorkhe Yi sub-district, Bng So Thong district, Smutprkn province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชาญยุทธ กาฬกาญจน์
สุวิทย์ ปะสาวะเท
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: น้ำประปา
การประปา -- ค่าใช้จ่าย
ค่าน้ำประปา
น้ำประปา -- การผลิต
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการงานก่อสร้างและงานโครงสร้างพื้นฐาน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวโน้มปริมาณนํ้ารวมเพื่อการอุปโภค-บริโภคในพื้นที่ และประเมินความแตกต่างระหว่างค่าใช้จ่ายการใช้นํ้าประปาขององค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) และ การประปานครหลวง (กปน.) จากการศึกษา พบว่า ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2555-2557 มีผู้ใช้นํ้าจํานวน 250 ครัวเรือน จํานวนราษฎร 1,056 คน ปัจจุบันมีจํานวนระบบประปาหมู่บ้านจํานวน 6แห่ง ที่อยู่ภายใต้การจัดการของ อบต. ค่าเฉลี่ยปริมาณนํ้าเพื่อการอุปโภค-บริโภค 65,500 ลบ.ม. ต่อปี หรือ 262 ลบ.ม. ต่อครัวเรือนต่อปี ต้นทุนการผลิตนํ้าประปาหมู่บ้านมีค่าอยู่ 3.38 ถึง 11.01 บาทต่อ ลบ.ม. แต่ราษฎร จ่ายค่านํ้าประปาหมู่บ้านที่อัตราคงที่ 5 บาทต่อลูกบาศกเมตร ซึ่งตํ่ากว่าต้นทุนการผลิตน้ำประปา ซึ่งในแต่ละปี อบต. ต้องจ่ายเงินอุดหนุนการดําเนินงาน นอกจากนั้นต้นทุนค่าใช้จ่ายการใช้นํ้าของ กปน. กำหนดอัตราคงที่ 8.5 บาทต่อลบ.ม. สําหรับ 1-30 ลบ.ม. แรก อัตราค่าใช้นํ้าของ กปน. ที่สูงกว่าค่านํ้าของ อบต. นั้น ทําให้ยากที่จะโน้มน้าวให้ประชาชนเปลี่ยนการใช้นํ้าประปาจากระบบของ อบต. ไปเป็น กปน. อัตราค่านํ้าที่สูงกว่านั้น อาจเป็นผลมาจากค่าการบริหารจัดการที่สูงเพื่อให้สามารถผลิตนํ้าประปาให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานนํ้าประปา แต่สิ่งที่สําคัญกว่านั้น คือ การอุปโภค-บริโภคนํ้าที่มีคุณภาพไม่เหมาะสมเป็นระยะเวลายาวนานอาจนําไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ดังนั้น จากข้อได้เปรียบ และข้อเสียเปรียบระหว่างระบบผลิตน้ำประปาของ อบต. และ กปน. ควรถูกชี้แจงในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการใช้น้ำบาดาลเพื่อการอุปโภค-บริโภค กับการทรุดตัวของพื้นที่ข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้ประชาชนพิจารณาการใช้นํ้าของ กปน. เพื่อเป็นทางเลือกในการอุปโภค-บริโภค
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (วศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7462
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf7.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น