กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7456
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาปัญหาการจัดการงานก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษาเทศบาลเมืองบ้านบึงจังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A study of construction mngement problem of locl goverment dministrtion orgniztion cse study Bnbung miniciplity |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณวรางค์ รัตนานิคม ปภัสธนันท์ วิชาชู มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรม -- กลุ่มวิชาเทคโนโลยีการจัดการงานก่อสร้าง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น การก่อสร้าง เทศบาลเมือง -- การบริหาร การก่อสร้าง -- การจัดการ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการงานก่อสร้างและศึกษาภาพรวม ปัญหาและอุปสรรคเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานภาคเอกชนใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ประมวลผลและแสดงผลในรูปแบบของสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (T-test) และสถิติเปรียบเทียบ (ANOVA) ผลจากการวิจัย พบว่า การจัดลําดับตามดัชนีความรุนแรงของปัญหาของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน มุมมองหน่วยงานภาคเอกชนต่อโครงการก่อสร้างประเภทงานทางและงานอาคาร และมุมมองหน่วยงานภาคเอกชนต่อโครงการที่มีวงเงินงบประมาณแตกต่างกันเป็นดังนี้ 1) ปัญหาสํารวจ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอกับปริมาณงาน ผู้ปฏิบัติงานขาดประสบการณ์ในการทํางาน ผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้ด้านช่าง ข้อมูลเบื้องต้นก่อนการสํารวจไม่เพียงพอ ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีอํานาจในการตัดสินใจ ขาดการประสานงานกับหน่วยงานอื่นและผู้ปฏิบัติงานขาดความรับผิดในการปฏิบัติงาน 2) ปัญหาการออกแบบและประมาณราคา ได้แก่ รายละเอียดของแบบและรายการประกอบแบบไม่ชัดเจน ผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอกับปริมาณงาน ราคาวัสดุจากพาณิชย์จังหวัดไม่เป็นปัจจุบัน ภาวะผันผวนทางเศรษฐกิจ ค่าวัสดุและค่าแรงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและผู้ปฏิบัติงานไม่คํานึงถึงการก่อสร้างจริงและ 3) ปัญหาการควบคุมงาน ผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอกับปริมาณงานแบบที่ใช้เพื่อการก่อสร้างไม่ชัดเจน ปัญหาที่เกิดจากผู้รับเหมาที่มีอิทธิพลในพื้นที่เข้ามารับงาน และการใช้วัสดุหรือวัสดุเทียบเท่าที่ใช้ในการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความสอดคล้องของปัญหาที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ .05 เป็นดังนี้ปัญหาการสํารวจ ได้แก่ 1) ปัญหาผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอกับปริมาณงาน ผู้ปฏิบัติงานขาดประสบการณ์ในการทํางาน ผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้เรื่องช่าง ปัจจัยข้อมูลเบื้องต้นก่อนการสํารวจไม่เพียงพอ ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีอํานาจในการตัดสินใจ ขาดการประสานงานกับหน่วยงานอื่น และผู้ปฏิบัติงานขาดความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 2) ปัญหาการออกแบบและประมาณราคา ได้แก่ รายละเอียดของแบบและรายการประกอบแบบไม่ชัดเจน ค่าวัสดุและค่าแรงงานเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 3) ปัญหาการควบคุมงาน ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอกับปริมาณงานแบบที่ใช้ก่อสร้างไม่ชัดเจน |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7456 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.96 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น