กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7456
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรรณวรางค์ รัตนานิคม | |
dc.contributor.author | ปภัสธนันท์ วิชาชู | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:58:56Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:58:56Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7456 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการงานก่อสร้างและศึกษาภาพรวม ปัญหาและอุปสรรคเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานของหน่วยงานภาคเอกชนใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ประมวลผลและแสดงผลในรูปแบบของสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (T-test) และสถิติเปรียบเทียบ (ANOVA) ผลจากการวิจัย พบว่า การจัดลําดับตามดัชนีความรุนแรงของปัญหาของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน มุมมองหน่วยงานภาคเอกชนต่อโครงการก่อสร้างประเภทงานทางและงานอาคาร และมุมมองหน่วยงานภาคเอกชนต่อโครงการที่มีวงเงินงบประมาณแตกต่างกันเป็นดังนี้ 1) ปัญหาสํารวจ ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอกับปริมาณงาน ผู้ปฏิบัติงานขาดประสบการณ์ในการทํางาน ผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้ด้านช่าง ข้อมูลเบื้องต้นก่อนการสํารวจไม่เพียงพอ ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีอํานาจในการตัดสินใจ ขาดการประสานงานกับหน่วยงานอื่นและผู้ปฏิบัติงานขาดความรับผิดในการปฏิบัติงาน 2) ปัญหาการออกแบบและประมาณราคา ได้แก่ รายละเอียดของแบบและรายการประกอบแบบไม่ชัดเจน ผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอกับปริมาณงาน ราคาวัสดุจากพาณิชย์จังหวัดไม่เป็นปัจจุบัน ภาวะผันผวนทางเศรษฐกิจ ค่าวัสดุและค่าแรงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและผู้ปฏิบัติงานไม่คํานึงถึงการก่อสร้างจริงและ 3) ปัญหาการควบคุมงาน ผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอกับปริมาณงานแบบที่ใช้เพื่อการก่อสร้างไม่ชัดเจน ปัญหาที่เกิดจากผู้รับเหมาที่มีอิทธิพลในพื้นที่เข้ามารับงาน และการใช้วัสดุหรือวัสดุเทียบเท่าที่ใช้ในการก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความสอดคล้องของปัญหาที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ .05 เป็นดังนี้ปัญหาการสํารวจ ได้แก่ 1) ปัญหาผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอกับปริมาณงาน ผู้ปฏิบัติงานขาดประสบการณ์ในการทํางาน ผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้เรื่องช่าง ปัจจัยข้อมูลเบื้องต้นก่อนการสํารวจไม่เพียงพอ ผู้ใต้บังคับบัญชาไม่มีอํานาจในการตัดสินใจ ขาดการประสานงานกับหน่วยงานอื่น และผู้ปฏิบัติงานขาดความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน 2) ปัญหาการออกแบบและประมาณราคา ได้แก่ รายละเอียดของแบบและรายการประกอบแบบไม่ชัดเจน ค่าวัสดุและค่าแรงงานเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 3) ปัญหาการควบคุมงาน ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอกับปริมาณงานแบบที่ใช้ก่อสร้างไม่ชัดเจน | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรม -- กลุ่มวิชาเทคโนโลยีการจัดการงานก่อสร้าง | |
dc.subject | องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น | |
dc.subject | การก่อสร้าง | |
dc.subject | เทศบาลเมือง -- การบริหาร | |
dc.subject | การก่อสร้าง -- การจัดการ | |
dc.title | การศึกษาปัญหาการจัดการงานก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษาเทศบาลเมืองบ้านบึงจังหวัดชลบุรี | |
dc.title.alternative | A study of construction mngement problem of locl goverment dministrtion orgniztion cse study Bnbung miniciplity | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to study the construction management and construction management of the civil works in Chonburi province. To study problems and obstacles in order to find solutions, focusing on surveying, design and price estimation and the construction control. Data were collected from 2 groups: executives and government officials and executives and practitioners of private sector organizations. The questionnaire had been used as a research tool. Then results of the research had been reported as follows: index, percentage, standard deviation, t-test, and ANOVA. The severity of the problem (SI), according to the opinions of the three groups, is composed of government and private sectors. Private sector perspective on construction project, working and building. The problems found as follows: 1) the problem of the survey is that the worker is not enough for the amount of work, workers lack of experience in work and lack of technical knowledge, preliminary information is not enough, subordinates have no authority in decisions making, lack of coordination with other agencies and 2) the problems of design and price estimation including unclear details of the model and the list of components, inappropriate workload, the price of materials from the provincial commerce is not present, economic fluctuations material and labor costs change over time, and workers do not take into account actual construction and 3) problems from work control including inappropriate workload, the construction is not clear, problems caused by influential contractors in the area, the use of equivalent materials or materials used in construction is not standardized. A comparative analysis of the consistency of the problem at the significant levelof0.05 are as follows: 1) Not having enough worker for the workload. Workers lack of the experience in work. Workers lack of knowledge of mechanics, preliminary survey data is not enough, subordinates have no authority to make decisions and lack of coordination with other agencies. 2) Design problem and price estimation include unclear model and item description. Material costs and labor costs change all the time.3) Work control problems include inadequate workload and the construction is not clear. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | กลุ่มวิชาเทคโนโลยีการจัดการงานก่อสร้าง | |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.96 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น