กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7337
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของผู้เดินทางที่มีต่อถนนและคุณภาพของการซ่อมผิวทาง กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: study of trveler’s stisfction on rod nd rod surfce repir nd mintennce: Surin provincil dministrtion orgniztion cse study
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์
วิรัช จุ้ยกระยาง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: ถนน
ผิวทาง -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการงานก่อสร้างและงานโครงสร้างพื้นฐาน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เดินทางที่มีต่อถนนและคุณภาพของการ ซ่อมผิวทางในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ประชาชนที่ใช้ถนนในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ 34 เส้นทาง จำนวน 250 ตัวอย่างและข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในตำบลที่มีสายทางที่ถูกร้องเรียนจำนวน 34 เส้นทาง จำนวน 250 ตัวอย่างกลุ่มตัวอย่างจะถูกสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามที่ถูกออกแบบเพื่อตรวจสอบความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของถนนและการซ่อมบำรุง 6 ด้าน ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์จะถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทำการเปรียบเทียบ ทัศนคติระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม จากผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มประชาชน การซ่อมแซมและบำรุงรักษา เป็นปัจจัยที่มีระดับความพึงพอใจต่ำและควรได้รับการปรับปรุงใหม่คุณภาพดีขึ้น ขณะที่ในกลุ่มข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัจจัยด้านความปลอดภัยของถนน การมีส่วนร่วมของประชาชน และการซ่อมแซมและบำรุงรักษา เป็นปัจจัยที่มีระดับความพึงพอใจต่ำและควรได้รับการปรับปรุงให้มีคุณภาพดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อปัจจัยทั้ง 6 ด้าน ระหว่างกลุ่มประชาชน และข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทุกด้าน ยกเว้น ปัจจัยความปลอดภัยของถนนที่กลุ่มประชาชนและข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีทัศนคติไม่แตกต่างกัน จากผลการศึกษาอาจกล่าวได้ว่า ทัศนคติความพึงพอใจและความคาดหวังที่ประชาชนมีต่อคุณภาพการซ่อมบำรุงถนนนั้น มีความสำคัญไม่ต่างจากเทคนิคและวิธีการที่ใช้ในการซ่อมบำรุงด้วยเหตุนี้การลดจำนวนการร้องเรียนของประชาชนเรื่องคุณภาพของถนนและการซ่อมบำรุงหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาด้านเทคนิคการซ่อมบำรุงควบคู่ไปกับการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงนอกจากนี้ผลการศึกษายังสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพการซ่อมบำรุงถนนและวางแผนงานสำหรับการปรับปรุงถนนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7337
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf6.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น