กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7337
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์
dc.contributor.authorวิรัช จุ้ยกระยาง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:45:54Z
dc.date.available2023-05-12T03:45:54Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7337
dc.descriptionงานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เดินทางที่มีต่อถนนและคุณภาพของการ ซ่อมผิวทางในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ประชาชนที่ใช้ถนนในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ 34 เส้นทาง จำนวน 250 ตัวอย่างและข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในตำบลที่มีสายทางที่ถูกร้องเรียนจำนวน 34 เส้นทาง จำนวน 250 ตัวอย่างกลุ่มตัวอย่างจะถูกสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามที่ถูกออกแบบเพื่อตรวจสอบความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของถนนและการซ่อมบำรุง 6 ด้าน ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์จะถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทำการเปรียบเทียบ ทัศนคติระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม จากผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่มประชาชน การซ่อมแซมและบำรุงรักษา เป็นปัจจัยที่มีระดับความพึงพอใจต่ำและควรได้รับการปรับปรุงใหม่คุณภาพดีขึ้น ขณะที่ในกลุ่มข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัจจัยด้านความปลอดภัยของถนน การมีส่วนร่วมของประชาชน และการซ่อมแซมและบำรุงรักษา เป็นปัจจัยที่มีระดับความพึงพอใจต่ำและควรได้รับการปรับปรุงให้มีคุณภาพดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อปัจจัยทั้ง 6 ด้าน ระหว่างกลุ่มประชาชน และข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทุกด้าน ยกเว้น ปัจจัยความปลอดภัยของถนนที่กลุ่มประชาชนและข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีทัศนคติไม่แตกต่างกัน จากผลการศึกษาอาจกล่าวได้ว่า ทัศนคติความพึงพอใจและความคาดหวังที่ประชาชนมีต่อคุณภาพการซ่อมบำรุงถนนนั้น มีความสำคัญไม่ต่างจากเทคนิคและวิธีการที่ใช้ในการซ่อมบำรุงด้วยเหตุนี้การลดจำนวนการร้องเรียนของประชาชนเรื่องคุณภาพของถนนและการซ่อมบำรุงหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาด้านเทคนิคการซ่อมบำรุงควบคู่ไปกับการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงนอกจากนี้ผลการศึกษายังสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพการซ่อมบำรุงถนนและวางแผนงานสำหรับการปรับปรุงถนนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectถนน
dc.subjectผิวทาง -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการงานก่อสร้างและงานโครงสร้างพื้นฐาน
dc.titleความพึงพอใจของผู้เดินทางที่มีต่อถนนและคุณภาพของการซ่อมผิวทาง กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์
dc.title.alternativestudy of trveler’s stisfction on rod nd rod surfce repir nd mintennce: Surin provincil dministrtion orgniztion cse study
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is studying the satisfaction of travelers who use the roads in responsible areas of Surin provincial administration organization. The focus groups are divided into two groups. The first group, 250 samples, is road users who traveling on 34 roads in responsible areas of Surin provincial administration organization, and the second one, 250 samples, is the governors of local administration organization who work in the same areas. Each focus group was interviewed using the questionnaire that was designed for revealing their attitudes and satisfaction toward 6 dimensions of road and road surface repair and maintenance. After the questionnaire survey, the usable data was analyzed by descriptive statistical technique and was compared for investigating attitudinal distinctions between two focus groups. The finding from people focus group show that “repair and maintenance” is ranked in low level of satisfaction and should be improved in order to increase the quality of maintenance. For the governor focus group, the results show that “road safety”, “public participation”, and “repair and maintenance” are the factors that should be improved for meet the requirements of this group. For factor satisfaction comparison between two focus groups, the results show that there are significant differences in attitudes between two focus groups for every factor except “road safety”. In conclusing, the finding show that attitude, satisfaction, and expectation of community on road maintenance quality are important factors for making people tend to understand and satisfy the road improvement programs of government agency. Therefore, providing useful information on road management activity to community as well as improving maintenance technique will be the effective approach for reducing negative requests from people in community
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิศวกรรมการจัดการงานก่อสร้างและงานโครงสร้างพื้นฐาน
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf6.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น