กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7287
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการเยียวยาความเสียหายให้แก่จำเลยและผู้ต้องหาในคดีอาญาตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legl problems of compenstion nd expenses for the ccused in criminl cse under the dmges for the injured person nd compenstions nd expenses for the ccused in the criminl cse ct, B.E. 2544 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รัชนี แตงอ่อน ประสิทธิ์ จินพละ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ค่าทดแทน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ คดีอาญา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 กฎหมายอาญา มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชากฎหมายอาญา การชดใช้ค่าเสียหาย |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 มีวัตถุประสงค์เพื่อรับรองสิทธิบุคคลผู้บริสุทธิ์ที่ได้รับผลกระทบในคดีอาญาให้ได้รับการเยียวยาจากรัฐตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 แต่อย่างไรก็ตามในการเยียวยาบุคคลผู้บริสุทธิ์ตามกฎหมายนี้ก็ยังมีปัญหาของหลักเกณฑ์บางประการ จากการศึกษาพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 ปีพ.ศ. 2559 รวมถึงแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในประเด็นของบุคคลที่ถูกจับกุมคุมขังดำเนินคดีอาญาโดยที่มิได้เป็นผู้กระทำความผิด เปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ พบว่า ตามพระราชบัญญัตินี้กำหนดให้ความคุ้มครองเพียงกรณีของ “จำเลย” ที่ถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีในชั้นศาลแต่ไม่คุ้มครองถึงกรณีของ “ผู้ต้องหา” ที่ถูกคุมขังแล้วได้รับการปล่อยตัว เพราะมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องในชั้นสอบสวนของตำรวจและอัยการ แต่อย่างใดขณะที่ต่างประเทศเช่น ญี่ปุ่ น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และราชอาณาจักรสวีเดนนั้น ได้ให้ความคุ้มครองถึงกรณีผู้ต้องหาไว้ด้วยอีกประเด็นคือในกรณีการกำหนดค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญานั้นได้มีการกำหนดเป็นจำนวนเงินทดแทนไว้เพียงอย่างเดียวเท่านั้นซึ่งไม่สามารถช่วยเยียวยาผลกระทบต่อเกียรติยศชื่อเสียงที่สูญเสียไปได้ในขณะที่ต่างประเทศเช่น ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐฝรั่งเศส จะมีการประกาศทางหนังสือพิมพ์ให้บุคคลอื่นทราบถึงความบริสุทธิ์ของบุคคลนั้น เพื่อเป็นการเยียวยาในเกียรติยศชื่อเสียงอีกทางหนึ่งด้วย จึงเห็นว่า ควรนำหลักเกณฑ์ของต่างประเทศในแต่ละประเด็นที่กล่าวมา เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมายของไทยให้เกิดความเป็นธรรมแก่จำเลยและผู้ต้องหาในคดีอาญาที่ต้องถูกคุมขังโดยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดให้ได้รับการทดแทนเยียวยาจากรัฐอย่างเหมาะสมต่อไป |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (น.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7287 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.02 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น