กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7276
ชื่อเรื่อง: การศึกษาภาวะความเครียดในการทำงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of work stress of police in Ptty Police Sttion, Chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุพจน์ บุญวิเศษ
ธรงวิท นุชฉายา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: ตำรวจ -- ความเครียดในการทำงาน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม
ข้าราชการตำรวจ -- ความเครียดในการทำงาน
ข้าราชการตำรวจ -- ไทย -- ชลบุรี
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะความเครียดในการทํางานของข้าราชการตํารวจสถานีตํารวจภูธรเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรีเพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับภาวะความเครียดในการ ทํางานของข้าราชการตํารวจสถานีตํารวจภูธรเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านงานกับภาวะความเครียดในการทํางานของข้าราชการตํารวจสถานี ตํารวจภูธรเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการตํารวจสถานี ตํารวจภูธรเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จํานวน 205 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ประมวลผลด้วยโปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ในการทดสอบสมมติฐานใช้การทดสอบค่าที (t-Test) และใช้ค่าสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way - ANOVA) โดยกําหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ข้าราชการตํารวจที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุน้อยกว่า/ เท่ากับ 30 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท มีสถานภาพโสด และส่วนใหญ่เป็นข้าราชการตํารวจชั้นประทวน ข้าราชการตํารวจ มีระดับภาวะความเครียดในการทํางาน อยู่ในระดับน้อยเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสุขภาพร่างกาย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านพฤติกรรม และด้านสุขภาพจิต มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าข้าราชการตํารวจที่มีอายุ และตําแหน่ง ต่างกันมีระดับภาวะความเครียดในการทํางานในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ส่วนข้าราชการตํารวจที่มีเพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานภาพการสมรสต่างกันมีระดับภาวะความเครียดในการทํางานไม่แตกต่างกัน และพบว่าปัจจัยด้านงานทุกด้านได้แก่ ด้านลักษณะงานที่รับผิดชอบ ด้านบทบาทในองค์กร ด้านความก้าวหน้าในงาน และด้านสัมพันธภาพในหน่วยงาน มีความสัมพันธ์กับระดับภาวะความเครียดในการทํางาน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ร.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7276
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น