กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7264
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นต่อการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ของสำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The personl opinions towrd humn resource mngement of Investigtion nd Legl Affirs Bureu Deprtment of Provincil Administrtion
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โอฬาร ถิ่นบางเตียว
พรพรรษา ศิริพิพัฒน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: การบริหารงานบุคคล
กรมการปกครอง -- สำนักการสอบสวนและนิติการ -- การบริหาร
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรในสังกัดสํานักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง และเสนอแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 5 ด้าน คือ ด้านการสรรหาบุคลากร ด้านประสิทธิภาพของบุคลากร ด้านการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร และด้านสวัสดิการของบุคลากร โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative method) เก็บแบบสอบถามจากประชากร จํานวน 289 คน ผลการศึกษาความคิดเห็นพบว่า 1. ด้านการสรรหาบุคลากร หน่วยงานขาดบุคลากรในปฏิบัติงาน และขาดจัดทําหลักเกณฑ์การสรรหาบุคลากร 2. ด้านประสิทธิภาพของบุคลากร บุคลากรขาดประสิทธิภาพในการทํางานและขาดความสามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะได้อย่างรวดเร็ว 3. ด้านการพัฒนาสมรรถนะของ บุคลากร ซึ่งบุคลากรขาดการพัฒนาสมรรถนะที่เพียงพอต่อการนําไปใช้ปฏิบัติงาน 4. ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานไม่เหมาะสมกับปริมาณงานที่ได้รับมอบหมายและตําแหน่งของ บุคลากร และ 5. ด้านสวัสดิการของบุคลากร หน่วยงานขาดการจัดค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของบุคลากร แต่ทั้งนี้ บุคลากรมีความพึงพอใจในด้านการจัดสวัสดิการของหน่วยงาน ข้อเสนอแนะสําหรับการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1. ด้านการสรรหาบุคลากร โดยหน่วยงานต้องนําหลักความสามารถ (Competence) หลักความเสมอภาค (Equality of opportunity) และหลักความมั่นคง (Security on Tenure) ตลอดจนการนําแนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมมาปรับใช้กับการสรรหา 2. ด้านประสิทธิภาพของบุคลากร ควรพัฒนาให้บุคลากรมีศักยภาพ และจูงใจบุคลากรในการปฏิบัติงานด้วยการตอบสนองความจําเป็นพื้นฐาน และให้ความก้าวหน้าในตําแหน่ง 3. ด้านการพัฒนาสมรรถนะ ควรจัดให้มีการฝึกอบรมแก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง เน้นการพัฒนาความรู้ความสามารถตามหน้าที่ตลอดจนฝึกอบรมสร้างทักษะการปฏิบัติงานในด้านอื่น ๆ 4. ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ควรกําหนดรูปแบบการประเมินผลการปฏิบัติงานให้เหมาะสม พิจารณา ความยากของเนื้องาน ปริมาณงานที่ได้รับมอบหมาย และผลงานเชิงประจักษ์ และ 5. ด้านสวัสดิการของบุคลากร หน่วยงานควรพิจารณาอัตราค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ปริมาณงาน สภาวะเศรษฐกิจ และช่วยเหลือ ค่าครองชีพให้แก่ข้าราชการทุกระดับ
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ร.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7264
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น