กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6937
ชื่อเรื่อง: การปรึกษากลุ่มเชิงจิตวิทยาแบบบูรณาการเชิงทฤษฎีต่อการเสพติดอินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The theoreticl integrtive group counseling for internet ddiction mong upper secondry school students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ระพินทร์ ฉายวิมล
ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล
พัชรี ถุงแก้ว
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
การให้คำปรึกษา -- แง่จิตวิทยา
นักเรียนมัธยมศึกษา -- การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
อินเทอร์เน็ต
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงจิตวิทยาแบบบูรณาการเชิงทฤษฎี และศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการเสพติดอินเทอร์เน็ต ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของกลุ่มทดลอง โดยเปรียบเทียบในระยะเส้นฐาน ระยะทดลอง และระยะติดตามผล ใช้แบบแผนการทดลอง ABF และมีกลุ่มควบคุม (ABF control group design) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสวายจีกพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นระยะเวลามากกว่า 3 ชั่วโมงติดต่อกันต่อครั้ง และมีคะแนนการเสพติดอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับ 50-100 คะแนน จำนวน 24 คน สุ่มเข้ากลุ่มโดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 12 คน และกลุ่มควบคุม 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดพฤติกรรมเสพติดอินเทอร์เน็ต (Young’s internet addiction test; YIAT20) มีค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 แบบบันทึกพฤติกรรมการเสพติดอินเทอร์เน็ตและโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงจิตวิทยาแบบบูรณาการเชิงทฤษฎีต่อการเสพติดอินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย การทดลองแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนทดลอง ระยะทดลอง และระยะติดตามผล โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบบูรณาการเชิงทฤษฎีที่พัฒนาขึ้น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง จำนวน 9 สัปดาห์ รวมเป็น 17 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที และกลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t-test เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเสพติดอินเทอร์เน็ตระยะก่อนทดลองและ หลังทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลการวิจัยพบว่า ในระยะหลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงจิตวิทยาแบบบูรณาการเชิงทฤษฎีจะมีคะแนนพฤติกรรมการเสพติดอินเทอร์เน็ตน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพฤติกรรมการเสพติดอินเทอร์เน็ตของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มเชิงจิตวิทยาแบบบูรณาการเชิงทฤษฎีในระยะทดลองและระยะติดตามผลลดลงกว่าระยะเส้นฐาน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6937
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น