กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6929
ชื่อเรื่อง: | การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่มีรูปแบบการตรวจให้คะแนนแบบหลายค่าด้วยวิธี IRT LR วิธี Poly-Sibtest และวิธี Multiple-groups CFA |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Comprison of the efficiency of differentil item functioning for polytomous scored items: irt lr, poly-sibtest nd multiple-groups cf method |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุรีพร อนุศาสนนันท์ ไพรัตน์ วงษ์นาม วาสนา กลมอ่อน มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา) มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา การวัดผลทางการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบประสิทธิภาพการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่มีรูปแบบการตรวจให้คะแนนแบบหลายค่าในโมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบมิติเดียว ด้วยวิธี IRT LR วิธี Poly-SIBTEST และวิธี Multiple-groups CFA ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยที่แตกต่าง 3 ปัจจัย คือ ขนาดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ 2 รูปแบบ ความยาวของ แบบสอบ 2 รูปแบบ และขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 3 ขนาด และ 2) เปรียบเทียบอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบของการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่มีรูปแบบการตรวจให้คะแนนแบบหลายค่า ด้วยวิธีการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบสามวิธี ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยที่แตกต่าง 3 ปัจจัย โดยการจำลองข้อมูลภายใต้โมเดล Graded-Response และข้อสอบทุกข้อมีรายการคำตอบ 5 ตัวเลือก ให้คะแนนเป็น 0, 1, 2, 3 และ 4 คะแนน รวมจำนวน 12 เงื่อนไข (2x2x3) และในแต่ละเงื่อนไขจำลองข้อมูลวนซ้ำ 100 รอบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่มีรูปแบบการตรวจให้คะแนน แบบหลายค่า ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยหลักที่แตกต่าง 3 ปัจจัย ด้วยวิธี IRT LR มีอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และอัตราอำนาจการทดสอบสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดภายใต้เงื่อนไขปัจจัยขนาดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่มีขนาดกลาง สำหรับวิธี Poly-SIBTEST มีอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอัตราอำนาจการทดสอบ ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด เกือบทุกเงื่อนไขปัจจัย และวิธี Multiple-groups CFA มีอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และอัตราอำนาจการทดสอบ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดภายใต้เงื่อนไขปัจจัยขนาดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่มีขนาดกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบ การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ ด้วยวิธีการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันสามวิธี พบว่า ความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบของทั้งสามวิธีโดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 นอกจากนี้ ผลของวิธีการตรวจสอบยังขึ้นอยู่กับปัจจัย ขนาดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ ความยาวของแบบสอบ และขนาดของกลุ่มตัวอย่าง |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6929 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 2.63 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น