Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบประสิทธิภาพการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่มีรูปแบบการตรวจให้คะแนนแบบหลายค่าในโมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบมิติเดียว ด้วยวิธี IRT LR วิธี Poly-SIBTEST และวิธี Multiple-groups CFA ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยที่แตกต่าง 3 ปัจจัย คือ ขนาดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ 2 รูปแบบ ความยาวของ แบบสอบ 2 รูปแบบ และขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 3 ขนาด และ 2) เปรียบเทียบอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบของการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่มีรูปแบบการตรวจให้คะแนนแบบหลายค่า ด้วยวิธีการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบสามวิธี ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยที่แตกต่าง 3 ปัจจัย โดยการจำลองข้อมูลภายใต้โมเดล Graded-Response และข้อสอบทุกข้อมีรายการคำตอบ 5 ตัวเลือก ให้คะแนนเป็น 0, 1, 2, 3 และ 4 คะแนน รวมจำนวน 12 เงื่อนไข (2x2x3) และในแต่ละเงื่อนไขจำลองข้อมูลวนซ้ำ 100 รอบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่มีรูปแบบการตรวจให้คะแนน แบบหลายค่า ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยหลักที่แตกต่าง 3 ปัจจัย ด้วยวิธี IRT LR มีอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และอัตราอำนาจการทดสอบสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดภายใต้เงื่อนไขปัจจัยขนาดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่มีขนาดกลาง สำหรับวิธี Poly-SIBTEST มีอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอัตราอำนาจการทดสอบ ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด เกือบทุกเงื่อนไขปัจจัย และวิธี Multiple-groups CFA มีอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และอัตราอำนาจการทดสอบ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดภายใต้เงื่อนไขปัจจัยขนาดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่มีขนาดกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบ การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ ด้วยวิธีการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันสามวิธี พบว่า ความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบของทั้งสามวิธีโดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 นอกจากนี้ ผลของวิธีการตรวจสอบยังขึ้นอยู่กับปัจจัย ขนาดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ ความยาวของแบบสอบ และขนาดของกลุ่มตัวอย่าง