DSpace Repository

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่มีรูปแบบการตรวจให้คะแนนแบบหลายค่าด้วยวิธี IRT LR วิธี Poly-Sibtest และวิธี Multiple-groups CFA

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.advisor ไพรัตน์ วงษ์นาม
dc.contributor.author วาสนา กลมอ่อน
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:25:07Z
dc.date.available 2023-05-12T03:25:07Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6929
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบประสิทธิภาพการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่มีรูปแบบการตรวจให้คะแนนแบบหลายค่าในโมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบมิติเดียว ด้วยวิธี IRT LR วิธี Poly-SIBTEST และวิธี Multiple-groups CFA ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยที่แตกต่าง 3 ปัจจัย คือ ขนาดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ 2 รูปแบบ ความยาวของ แบบสอบ 2 รูปแบบ และขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 3 ขนาด และ 2) เปรียบเทียบอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบของการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่มีรูปแบบการตรวจให้คะแนนแบบหลายค่า ด้วยวิธีการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบสามวิธี ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยที่แตกต่าง 3 ปัจจัย โดยการจำลองข้อมูลภายใต้โมเดล Graded-Response และข้อสอบทุกข้อมีรายการคำตอบ 5 ตัวเลือก ให้คะแนนเป็น 0, 1, 2, 3 และ 4 คะแนน รวมจำนวน 12 เงื่อนไข (2x2x3) และในแต่ละเงื่อนไขจำลองข้อมูลวนซ้ำ 100 รอบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่มีรูปแบบการตรวจให้คะแนน แบบหลายค่า ภายใต้เงื่อนไขปัจจัยหลักที่แตกต่าง 3 ปัจจัย ด้วยวิธี IRT LR มีอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และอัตราอำนาจการทดสอบสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดภายใต้เงื่อนไขปัจจัยขนาดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่มีขนาดกลาง สำหรับวิธี Poly-SIBTEST มีอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอัตราอำนาจการทดสอบ ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด เกือบทุกเงื่อนไขปัจจัย และวิธี Multiple-groups CFA มีอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และอัตราอำนาจการทดสอบ สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดภายใต้เงื่อนไขปัจจัยขนาดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่มีขนาดกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบอัตราความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบ การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ ด้วยวิธีการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันสามวิธี พบว่า ความคลาดเคลื่อนประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบของทั้งสามวิธีโดยรวม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 นอกจากนี้ ผลของวิธีการตรวจสอบยังขึ้นอยู่กับปัจจัย ขนาดการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ ความยาวของแบบสอบ และขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา)
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subject การวัดผลทางการศึกษา
dc.title การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบที่มีรูปแบบการตรวจให้คะแนนแบบหลายค่าด้วยวิธี IRT LR วิธี Poly-Sibtest และวิธี Multiple-groups CFA
dc.title.alternative Comprison of the efficiency of differentil item functioning for polytomous scored items: irt lr, poly-sibtest nd multiple-groups cf method
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research were: 1) to detect the efficiency of differential item functioning for polytomous scored items by using IRT LR, Poly-SIBTEST and Multiple-groups CFA method, and 2) to compare the Type I error rate and the power rate of the investigated differential item functioning under a variety of three factors differences under 3 different conditional factors; two levels forms of DIF magnitudes (small, medium), two levels forms of length test (9 items, 15 items), and three levels forms of sample size (200, 500, 1,000). The data were simulated under the unidimensional Graded-Response Model, and all items were in five response categories scoring of 0, 1, 2, 3 and 4. A total of 12 (2x2x3) conditions were studied. The data were replicated 100 times for each condition. The research results were as follows: 1. The performance in differential item functioning (DIF) for polytomous scored items detecting under a variety of three factors differences was that the type I error rate on IRT LR procedure was less than nominal limit and power rate was higher than nominal limit under medium magnitude of DIF. For Poly-SIBTEST procedure, type I error rate and power rate were not at nominal limits on almost all conditions. The type I error rate on Multiple-groups CFA procedure was higher than nominal limit on overall conditions and power rate was higher than the nominal limit under medium magnitude of DIF. 2. The results of the comparison of type I error rate and power rate by using DIF procedure on three methods found that type I error and power on overall methods was statistically significant different Moreover, the result of methods depended on magnitude of DIF, test length, and sample size.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปร.ด.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account