กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6926
ชื่อเรื่อง: กระบวนการถ่ายทอดทางสังคมด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Sociliztion on locl wisdom in selfcre of elderly
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมโภชน์ อเนกสุข
สมศักดิ์ ลิลา
ปัญญเดช พันธุวัฒน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
ผู้สูงอายุ -- การดูแล
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน ด้วยวิธีการเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ 2) ศึกษาการปรับแต่ง ภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุให้เหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทของพลวัตทางสังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี 3) ศึกษากระบวนการของการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไปยังผู้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญา และ 4) ประเมินผลการเรียนรู้การถ่ายทอดการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาและผู้รับการถ่ายทอด จำนวนทั้งสิ้น 427 คน ในพื้นที่ 13 อำเภอ ของจังหวัดกาญจนบุรี โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างตามแบบแผนการวิจัยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 การศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการศึกษานำร่องใน 11 ชุมชน โดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์ จำนวน 55 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 33 คน กลุ่มที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงปริมาณที่ได้จากการสำรวจกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 253 คน และผู้รับการถ่ายทอดที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุ จำนวน 86 คน จากการสุ่มหลายขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติขั้นสูงในการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของกระบวนการทางสังคม ที่ส่งผลต่อการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ การวิเคราะห์เนื้อหาในการตรวจสอบผล และสรุปผลร่วมกันระหว่างผลการศึกษาเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ พบว่ามีการพึ่งพาอาศัยสิ่งแวดล้อมตามลักษณะของวิถีชีวิตชุมชนที่อาศัยอยู่ โดยมีการใช้พืชพรรณและทรัพยากรธรรมชาติ ในแหล่งที่อยู่อาศัยมาใช้เป็นทั้งอาหารและยาในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิด ในการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในการดูแลสุขภาพตนเอง และสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นได้ โดยมีระบบสังคมเป็นสิ่งที่กำหนดบทบาทหน้าที่ทางสังคมของบุคคลในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางสังคมร่วมกัน 2. การปรับแต่งภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ พบว่า มีการปรับแต่งจาก การปฏิบัติจริงในการดูแลตนเองในการดูแลตนเองจากการปฏิบัติจริง และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้มีความเหมาะสม และสะดวกต่อการนำไปใช้ ที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของสิ่งแวดล้อมด้านภูมิศาสตร์ที่อาศัยอยู่ ศักยภาพของบุคคลด้านความรู้ ทัศนคติ ความเชื่อ บทบาททางสังคมด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ระบบสังคมด้านการบริหารจัดการ 3. กระบวนการของการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไปยังผู้รับ การถ่ายทอดภูมิปัญญา พบว่า ศักยภาพของบุคคลด้านความรู้ ทัศนคติ ความเชื่อ และผลการใช้ส่งผลต่อพฤติกรรมการถ่ายทอดที่เหมาะสมกับบริบททางสังคม ด้วยการบอกเล่า การปฏิบัติจริง การเรียนรู้จาก แหล่งเรียนรู้ และการสาธิต ที่เป็นกระบวนการของการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไปยังผู้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญา ผลการทดสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุกระบวนการถ่ายทอดทางสังคมด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ด้วยการวิเคราะห์ค่าดัชนีความเหมาะสมพอดีของโมเดล (Goodness of fit indices) กับข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อยืนยันความความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ผลการทดสอบไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 184.37 ค่า p-value เท่ากับ 0.96 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 1.21 ค่าดัชนีระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ CFI = 1.00 และค่าดัชนีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า RMSEA = 0.00 โดยมีค่าดัชนี วัดระดับความเหมาะสมพอดี GFI เท่ากับ 0.94 ค่าดัชนีวัดระดับความเหมาะสมพอดีที่ปรับแก้แล้ว AGFI ค่าเท่ากับ 0.93 และค่าดัชนีวัดความประหยัดของระดับความเหมาะสมพอดี PGFI เท่ากับ 0.75 4. ผลประเมินการเรียนรู้การถ่ายทอดการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ พบว่า มีการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี โดยผู้สูงอายุเป็นทั้งผู้ถ่ายทอดและผู้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญา มีการปฏิบัติจริงกับตนเอง โดยสามารถบอกเล่าถึงผลการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเอง แก่ผู้อื่นที่นำไปใช้ และสามารถใช้สื่อเรียนรู้ในการถ่ายทอดอย่างสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และ การบริหารจัดการในระบบสังคมอย่างเหมาะสม
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6926
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น