กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6926
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมโภชน์ อเนกสุข | |
dc.contributor.advisor | สมศักดิ์ ลิลา | |
dc.contributor.author | ปัญญเดช พันธุวัฒน์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:25:05Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:25:05Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6926 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน ด้วยวิธีการเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ 2) ศึกษาการปรับแต่ง ภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุให้เหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทของพลวัตทางสังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยี 3) ศึกษากระบวนการของการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไปยังผู้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญา และ 4) ประเมินผลการเรียนรู้การถ่ายทอดการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญาและผู้รับการถ่ายทอด จำนวนทั้งสิ้น 427 คน ในพื้นที่ 13 อำเภอ ของจังหวัดกาญจนบุรี โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างตามแบบแผนการวิจัยออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 การศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการศึกษานำร่องใน 11 ชุมชน โดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์ จำนวน 55 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 33 คน กลุ่มที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงปริมาณที่ได้จากการสำรวจกลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 253 คน และผู้รับการถ่ายทอดที่ไม่ใช่ผู้สูงอายุ จำนวน 86 คน จากการสุ่มหลายขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติขั้นสูงในการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของกระบวนการทางสังคม ที่ส่งผลต่อการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้ การวิเคราะห์เนื้อหาในการตรวจสอบผล และสรุปผลร่วมกันระหว่างผลการศึกษาเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ พบว่ามีการพึ่งพาอาศัยสิ่งแวดล้อมตามลักษณะของวิถีชีวิตชุมชนที่อาศัยอยู่ โดยมีการใช้พืชพรรณและทรัพยากรธรรมชาติ ในแหล่งที่อยู่อาศัยมาใช้เป็นทั้งอาหารและยาในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิด ในการใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมในการดูแลสุขภาพตนเอง และสามารถถ่ายทอดความรู้สู่บุคคลอื่นได้ โดยมีระบบสังคมเป็นสิ่งที่กำหนดบทบาทหน้าที่ทางสังคมของบุคคลในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางสังคมร่วมกัน 2. การปรับแต่งภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ พบว่า มีการปรับแต่งจาก การปฏิบัติจริงในการดูแลตนเองในการดูแลตนเองจากการปฏิบัติจริง และจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้มีความเหมาะสม และสะดวกต่อการนำไปใช้ ที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของสิ่งแวดล้อมด้านภูมิศาสตร์ที่อาศัยอยู่ ศักยภาพของบุคคลด้านความรู้ ทัศนคติ ความเชื่อ บทบาททางสังคมด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ระบบสังคมด้านการบริหารจัดการ 3. กระบวนการของการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไปยังผู้รับ การถ่ายทอดภูมิปัญญา พบว่า ศักยภาพของบุคคลด้านความรู้ ทัศนคติ ความเชื่อ และผลการใช้ส่งผลต่อพฤติกรรมการถ่ายทอดที่เหมาะสมกับบริบททางสังคม ด้วยการบอกเล่า การปฏิบัติจริง การเรียนรู้จาก แหล่งเรียนรู้ และการสาธิต ที่เป็นกระบวนการของการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุไปยังผู้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญา ผลการทดสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุกระบวนการถ่ายทอดทางสังคมด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ด้วยการวิเคราะห์ค่าดัชนีความเหมาะสมพอดีของโมเดล (Goodness of fit indices) กับข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อยืนยันความความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ผลการทดสอบไค-สแควร์ มีค่าเท่ากับ 184.37 ค่า p-value เท่ากับ 0.96 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 1.21 ค่าดัชนีระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ CFI = 1.00 และค่าดัชนีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า RMSEA = 0.00 โดยมีค่าดัชนี วัดระดับความเหมาะสมพอดี GFI เท่ากับ 0.94 ค่าดัชนีวัดระดับความเหมาะสมพอดีที่ปรับแก้แล้ว AGFI ค่าเท่ากับ 0.93 และค่าดัชนีวัดความประหยัดของระดับความเหมาะสมพอดี PGFI เท่ากับ 0.75 4. ผลประเมินการเรียนรู้การถ่ายทอดการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ พบว่า มีการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี โดยผู้สูงอายุเป็นทั้งผู้ถ่ายทอดและผู้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญา มีการปฏิบัติจริงกับตนเอง โดยสามารถบอกเล่าถึงผลการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเอง แก่ผู้อื่นที่นำไปใช้ และสามารถใช้สื่อเรียนรู้ในการถ่ายทอดอย่างสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และ การบริหารจัดการในระบบสังคมอย่างเหมาะสม | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- สุขภาพและอนามัย | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา | |
dc.subject | ภูมิปัญญาชาวบ้าน | |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- การดูแล | |
dc.title | กระบวนการถ่ายทอดทางสังคมด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ | |
dc.title.alternative | Sociliztion on locl wisdom in selfcre of elderly | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research was Mixed Methods Research of Quantitative method and Qualitative method. The purposes of this research were to; 1) study the process and effect of using local wisdom for self-care in elderly, 2) study the local wisdom readjustment in self-care of elderly in accordance with social dynamic, culture and technology 3) study the local wisdom socialization in self-care of elderly to recipients and 4) assess the learning of using local wisdom socialization in self-care of elderly. The sample was 427 elderlies who passed on local wisdom knowledge and received local wisdom knowledge from13 districts in Kanchanaburi province. The sampling group was divided into 2 groups. The first group was for the quantitative survey by the pilot study from 11 communities using participative observation and the interview with 55 persons as well as the in-depth structured interview with 33 persons. The other group was the qualitative study from the survey of 253 elderlies and the 86 recipients who were not the elderly and were selected from multi-stage sampling with 5 Likert Scale Questionnaire as the tool gathering data. The qualitative data was analyzed with the statistical analyze packages for basic statistics, Correlation coefficient between variables that can be noticeable and the advanced statistical analyze packages to analyze the causal relationship model in order to the study of social process affecting local wisdom in self-care of elderly. The qualitative data was analyzed with content analysis and were interpreted together with the quantitative and qualitative data analysis results. The results of this research were as follows: 1. In the process and the result of using local wisdom in self-care of elderly, it was found that there was the environmental dependence in community lifestyles using flora and natural resource in habitat to be both food and medicine for their own health care, family, or intimates and there was the capability to impart the knowledge to others by social system appointing the people’s duties in knowledge sharing. 2. It was found that the local wisdom adjustment in self-care of elderly was adjusted from the real-practice to self -care and from the knowledge sharing suitable and convenient to use in accordance with environmental geography, the factor of personal potential in knowledge, attitude, and belief, the factor of social role in social interaction and the factor of social. 3. The process of transferring the local wisdom knowledge to self-care of elderly to the recipients was discovered that personal potential in knowledge, attitude, and belief affected to the behavior of passing knowledge by telling, real-practice, learning from learning source and demonstration was the process of transferring the local wisdom knowledge in self-care of elderly to the receivers. The test of the validity of casual relationship model in the process of transferring the local wisdom knowledge in self-care of elderly was analyzed with Goodness of Fit Indices and Empirical Data.It was found that the Model corresponded to the Empirical Data. The result of Chi-Square Test was 184.37. p-value was 0.96. The relative Chi-Square was 1.21. CFI was 1.00 and RMSEA was 0.00 AGFI was 0.93 and PGFI was 0.75. 4. The assessment of learning outcomes in transferring the local wisdom knowledge in self-care of elderly was showed that elderlies were able to be both transferors and recipients by real-practice and talked and told to the results of using the local wisdom for self-care to transfer local wisdom accorded with environment, administration of social system. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา | |
dc.degree.name | ปร.ด. | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.95 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น