กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6892
ชื่อเรื่อง: | การสังเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้นขององค์ประกอบเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The synthesis of liner cusl reltionship model of fctors ffecting the efficiency of cdemic ffirs dministrtion in lrge secondry schools under the Office of Bsic Eduction Commission |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ประชุม รอดประเสริฐ ไพรัตน์ วงษ์นาม อดิพงษ์ สุขนาค มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา การบริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา -- การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่าง องค์ประกอบเชิงสาเหตุกับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จำนวน 264 คน จาก 24 โรงเรียน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) องค์ประกอบเชิงสาเหตุที่ศึกษา ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านวิธีการทางงบประมาณ ด้านความมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้ ด้านคุณสมบัติของผู้บริหาร ด้านคุณสมบัติของครู และด้านคุณสมบัติของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามประมาณค่าตามแบบ Likert’s scale การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรม LISREL 8.72 ในการพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบทุกตัวส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารวิชาการในโรงเรียน มัธยมศึกษาขนาดใหญ่ โดยรูปแบบความสัมพันธ์ที่ปรับตามรูปแบบที่ปรับแก้ มีความสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการทดสอบไค-สแควร์ (2) มีค่าเท่ากับ 127.47 ค่า P-value เท่ากับ .059 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 104 ค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ เท่ากับ 1.23 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า GFI เท่ากับ .94 ค่า RMSEA เท่ากับ .032 ค่า RMR เท่ากับ .014 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ตัวแปรตาม คือ ตัวแปรแฝงประสิทธิภาพการบริหารวิชาการในโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ (EFL) มีค่าเท่ากับ 0.71 แสดงว่า ตัวแปร ในรูปแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรประสิทธิภาพการบริหารวิชาการในโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ ได้ร้อยละ 71 โดยองค์ประกอบที่มีอิทธิพลทางตรงมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านคุณสมบัติ ของครู ด้านคุณสมบัติของนักเรียน ด้านความมีส่วนร่วมของชุมชน และองค์ประกอบที่มีอิทธิพลทางอ้อม มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านคุณสมบัติของผู้บริหาร ด้านวิธีการทางงบประมาณ ด้านการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้ |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6892 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.59 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น