Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่าง องค์ประกอบเชิงสาเหตุกับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จำนวน 264 คน จาก 24 โรงเรียน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) องค์ประกอบเชิงสาเหตุที่ศึกษา ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านวิธีการทางงบประมาณ ด้านความมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้ ด้านคุณสมบัติของผู้บริหาร ด้านคุณสมบัติของครู และด้านคุณสมบัติของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามประมาณค่าตามแบบ Likert’s scale การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรม LISREL 8.72 ในการพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบทุกตัวส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารวิชาการในโรงเรียน มัธยมศึกษาขนาดใหญ่ โดยรูปแบบความสัมพันธ์ที่ปรับตามรูปแบบที่ปรับแก้ มีความสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการทดสอบไค-สแควร์ (2) มีค่าเท่ากับ 127.47 ค่า P-value เท่ากับ .059 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 104 ค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ เท่ากับ 1.23 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า GFI เท่ากับ .94 ค่า RMSEA เท่ากับ .032 ค่า RMR เท่ากับ .014 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ตัวแปรตาม คือ ตัวแปรแฝงประสิทธิภาพการบริหารวิชาการในโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ (EFL) มีค่าเท่ากับ 0.71 แสดงว่า ตัวแปร ในรูปแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรประสิทธิภาพการบริหารวิชาการในโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ ได้ร้อยละ 71 โดยองค์ประกอบที่มีอิทธิพลทางตรงมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านคุณสมบัติ ของครู ด้านคุณสมบัติของนักเรียน ด้านความมีส่วนร่วมของชุมชน และองค์ประกอบที่มีอิทธิพลทางอ้อม มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านคุณสมบัติของผู้บริหาร ด้านวิธีการทางงบประมาณ ด้านการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้