กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6892
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorประชุม รอดประเสริฐ
dc.contributor.advisorไพรัตน์ วงษ์นาม
dc.contributor.authorอดิพงษ์ สุขนาค
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:21:53Z
dc.date.available2023-05-12T03:21:53Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6892
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่าง องค์ประกอบเชิงสาเหตุกับประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จำนวน 264 คน จาก 24 โรงเรียน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) องค์ประกอบเชิงสาเหตุที่ศึกษา ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านวิธีการทางงบประมาณ ด้านความมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้ ด้านคุณสมบัติของผู้บริหาร ด้านคุณสมบัติของครู และด้านคุณสมบัติของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามประมาณค่าตามแบบ Likert’s scale การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรม LISREL 8.72 ในการพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบทุกตัวส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารวิชาการในโรงเรียน มัธยมศึกษาขนาดใหญ่ โดยรูปแบบความสัมพันธ์ที่ปรับตามรูปแบบที่ปรับแก้ มีความสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการทดสอบไค-สแควร์ (2) มีค่าเท่ากับ 127.47 ค่า P-value เท่ากับ .059 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 104 ค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ เท่ากับ 1.23 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า GFI เท่ากับ .94 ค่า RMSEA เท่ากับ .032 ค่า RMR เท่ากับ .014 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ตัวแปรตาม คือ ตัวแปรแฝงประสิทธิภาพการบริหารวิชาการในโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ (EFL) มีค่าเท่ากับ 0.71 แสดงว่า ตัวแปร ในรูปแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรประสิทธิภาพการบริหารวิชาการในโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ ได้ร้อยละ 71 โดยองค์ประกอบที่มีอิทธิพลทางตรงมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านคุณสมบัติ ของครู ด้านคุณสมบัติของนักเรียน ด้านความมีส่วนร่วมของชุมชน และองค์ประกอบที่มีอิทธิพลทางอ้อม มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านคุณสมบัติของผู้บริหาร ด้านวิธีการทางงบประมาณ ด้านการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectการบริหารการศึกษา
dc.subjectผู้บริหารสถานศึกษา -- การบริหาร
dc.titleการสังเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้นขององค์ประกอบเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
dc.title.alternativeThe synthesis of liner cusl reltionship model of fctors ffecting the efficiency of cdemic ffirs dministrtion in lrge secondry schools under the Office of Bsic Eduction Commission
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of research was to synthesize a linear causal relationship model of factors affecting the efficiency of academic affairs administration in large secondary schools under the Office of Basic Education Commission. The sample, derived by means of the multi-stage sampling technique, were 264 teachers in 24 schools. There were six factors namely, budgeting approach, community participation, media technology and resource center development, qualification of administrator, qualification of teachers, and qualification of student. The research instrument was a Likert’s rating scale questionnaire. The data were analyzed by using descriptive statistics, through SPSS, and the Linear Structure Relationship Program 8.72 to investigate the causal relationship model. The results revealed the component of factors in the causal relationship model affecting the efficiency of academic affairs administration in large secondary schools. The adjusted model was consistent with empirical data. Goodness of fitness measures were found to be: 2 = 127.47, P-value = .059, df = 104, 2/ df = 1.23, CFI = 1.00, GFI = .94, RMSEA = .032, RMR = .014. The variables in the adjusted model accounted for 71 percent of the variance in the efficiency of academic affairs administration in large secondary schools. There were three factors having a statistically significant direct effect on the efficiency of academic affairs administration: 1) qualification of teacher; 2) qualification of student; and 3) community participation. There were three factors having a statistically significant indirect effect on efficiency of academic affairs administration: 1) qualification of administrator; 2) budgeting approach; and 3) media technology and resource center development.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameปร.ด.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น