กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6755
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอเขาคิชฌกูฎ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems nd guided for sloving problems of student ssistnce system of secondry schools in khokitchgood district under the secondry eductionl service re office 17
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สถาพร พฤฑฒิกุล
คมสันต์ ทะลายรัมย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: นักเรียนมัธยมศึกษา -- การดูแล
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอเขาคิชฌกูฏ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอเขาคิชฌกูฏ ที่ปฏิบัติการสอนในปีการศึกษา 2559 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางของ Krejcie and Morgan (1970, pp. 607-610) ได้กลุ่มตัวอย่าง 73 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .28-.68 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .92 สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอเขาคิชฌกูฏ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. เปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ในอำเภอเขาคิชฌกูฏ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จำแนกตามประสบการณ์ การทำงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และจำแนกตามขนาดโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แนวทางแก้ไขปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ในอำเภอเขาคิชฌกูฏ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 ด้านการรู้จักนักเรียน เป็นรายบุคคล ควรจัดเวลาเยี่ยมบ้านเพิ่มขึ้น ด้านคัดกรองนักเรียน ครูที่ปรึกษาควรเก็บผลการคัดกรอง เป็นความลับ ด้านส่งเสริมพัฒนา ควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของระยะเวลาในการจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ครูที่ปรึกษาควรดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ที่ชัดเจนโดยเน้นการปฏิบัติจริงด้านการส่งต่อนักเรียน นักเรียนต้องพร้อมรับการช่วยเหลือจากครูที่ปรึกษาและบุคลากรอื่น
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (กศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6755
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf697.57 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น