กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6744
ชื่อเรื่อง: | แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในกลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Motivtion of working for techers in Bnglmung school cluster 1 under the Chonburi primry eductionl service re office 3 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชัยพจน์ รักงาม ญาดา บ้านเมือง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ครู -- ความพอใจในการทำงาน -- ไทย -- ชลบุรี ขวัญในการทำงาน ครู -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศีกษา) คุณภาพชีวิตการทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในกลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามเพศ ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการครูในกลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 จำนวน 117 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .36-.88 มีค่าความเชื่อมั่น .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในกลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีรายละเอียดรายด้าน ดังนี้ 1) ด้านความต้องการดำรงชีวิตโดยรวมและ รายข้ออยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ความรู้สึกว่ามีความมั่นคง ในการประกอบอาชีพครู การได้รับอนุญาตให้ลาหยุดเมื่อจำเป็นหรือเจ็บป่วย และการได้รับรู้นโยบายใน การบริหารงานของโรงเรียน 2) ด้านความต้องการมีสัมพันธภาพโดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ การมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานและมีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน 3) ด้านความต้องการด้านความเจริญก้าวหน้า โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ การได้รับการส่งเสริมให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ความเหมาะสมในการปฏิบัติงานด้านการสอนและการปฏิบัติงานได้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ 2. เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (กศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6744 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 542.47 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น