กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6744
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชัยพจน์ รักงาม | |
dc.contributor.author | ญาดา บ้านเมือง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:20:05Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:20:05Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6744 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (กศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในกลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำแนกตามเพศ ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการครูในกลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 จำนวน 117 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .36-.88 มีค่าความเชื่อมั่น .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในกลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีรายละเอียดรายด้าน ดังนี้ 1) ด้านความต้องการดำรงชีวิตโดยรวมและ รายข้ออยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ความรู้สึกว่ามีความมั่นคง ในการประกอบอาชีพครู การได้รับอนุญาตให้ลาหยุดเมื่อจำเป็นหรือเจ็บป่วย และการได้รับรู้นโยบายใน การบริหารงานของโรงเรียน 2) ด้านความต้องการมีสัมพันธภาพโดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ การมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานและมีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน 3) ด้านความต้องการด้านความเจริญก้าวหน้า โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ การได้รับการส่งเสริมให้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ความเหมาะสมในการปฏิบัติงานด้านการสอนและการปฏิบัติงานได้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ 2. เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | |
dc.subject | ครู -- ความพอใจในการทำงาน -- ไทย -- ชลบุรี | |
dc.subject | ขวัญในการทำงาน | |
dc.subject | ครู -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศีกษา) | |
dc.subject | คุณภาพชีวิตการทำงาน | |
dc.title | แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูในกลุ่มโรงเรียนบางละมุง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 | |
dc.title.alternative | Motivtion of working for techers in Bnglmung school cluster 1 under the Chonburi primry eductionl service re office 3 | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to study and compare the motivation to work of teachers in Banglamung School cluster 1 under Chonburi Primary Educational Service Area Office 3. Also, it attempted to compare their levels of their motivation as classified by gender, school sizes and working experience. The data was collected from 117 teachers in Banglamung School cluster 1 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3. The research instrument was a five-rating-scale questionnaire which has item discrimination score between .36-.88 and its reliability is .97. The data was analyzed by mean, Standard Deviation, t-test and One-way ANOVA. The results were as follow. 1. The motivation to work of teachers in Banglamung School cluster 1 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3 in general and each aspect was at a high level. When Sorting by mean from more to less teachers were motivate by Existence needs, Relatedness needs and Growth needs. 2. Their genders’ of teachers in Banglamung School cluster 1 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3 do not make any significantly difference in the motivation to work. 3. The school sizes where teachers in Banglamung School cluster 1 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3 are working showed no significantly difference in the motivation to work. 4. The working experience of teachers in Banglamung School cluster 1 under the Chonburi Primary Educational Service Area Office 3 showed no significantly difference in the motivation to work. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารการศึกษา | |
dc.degree.name | กศ.ม. | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 542.47 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น