กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6726
ชื่อเรื่อง: การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแรงงานต่างด้าวกลุ่มผู้ใช้แรงงานประเภทกิจการก่อสร้าง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Promoting qulity of life for the foreign construction workers
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มานพ แจ่มกระจ่าง
ดุสิต ขาวเหลือง
วิสูจน์ รางทอง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ความพอใจการทำงาน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
แรงงานต่างด้าว
การทำงาน
คุณภาพชีวิตการทำงาน
อุตสาหกรรมก่อสร้าง -- ลูกจ้าง
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพการดำเนินชีวิตของแรงงานต่างด้าว และวิธีการการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแรงงานต่างด้าวประเภทกิจการก่อสร้าง โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ตอน คือ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินชีวิตของแรงงานต่างด้าวด้วยการสัมภาษณ์แรงงานต่างด้าว จำนวน 17 ราย และ 2) ศึกษาวิธีการการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแรงงานต่างด้าวด้วยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มผู้เกี่ยวข้องที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน จำนวน 12 ราย ผลการวิจัยมีดังนี้ แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษาและมีการศึกษาต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อาชีพเดิมทำเกษตรกรรม และสาเหตุที่ย้ายถิ่นมาทำงานเพราะค่าจ้างแรงงานของไทยสูง และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตมี 4 ด้าน คือ 1) ด้านร่างกาย ไม่มีการตรวจสุขภาพก่อนทำงาน 2) ด้านจิตใจ ไม่พอใจหรือไม่มีความสุขกับสภาพการดำเนินชีวิตโดยเฉพาะแรงงาน ต่างด้าวแอบเข้าเมืองผิดกฎหมายทุกคนและมีสภาพจิตใจอาการคิดถึงบ้านหรือบุคคลในครอบครัว 3) ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการหรือนายจ้างทุกรายไม่มีกิจกรรมสร้างจิตสำนึกเพื่อความจงรักภักดีในองค์กร 4) ด้านปัจจัยจำเป็นในการดำรงชีพ ที่พักอาศัยเป็นห้องสังกะสีไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในการทำงาน วิธีการการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแรงงานต่างด้าวมี 4 ด้าน คือ 1) ด้านร่างกาย ต้องตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวก่อนรับทำงานและปัจจัยเสี่ยงจากการทำงานเป็นประจำทุกปี 2) ด้านจิตใจ นายจ้างต้องชักนำและส่งเสริมให้แรงงานต่างด้าวเป็นผู้เข้าเมืองทำงานอย่างถูกกฎหมาย ยึดหลักสิทธิมนุษยชน 3) ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม นายจ้างควรอบรมให้ความรู้ ขอความร่วมมือ และให้แรงงานต่างด้าวปฏิบัติตามข้อกำหนด กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง และรับรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต 4) ด้านปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีพ นายจ้างต้องจ่ายอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำตามกฎหมายกำหนด ที่พักอาศัยควรต้องปลูกสร้างได้มาตรฐาน ด้านสวัสดิการแรงงานที่พักอาศัยสำหรับลูกจ้างประเภทกิจการก่อสร้าง น้ำดื่มต้องสะอาด และอาหารควรถูกหลักสุขอนามัย ต้องจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้เพียงพอกับจำนวนแรงงาน จัดเตรียม ตู้ยาสามัญประจำบ้านทั้งในพื้นที่ปฏิบัติงานและพื้นที่พักอาศัย
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6726
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น