กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6726
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มานพ แจ่มกระจ่าง | |
dc.contributor.advisor | ดุสิต ขาวเหลือง | |
dc.contributor.author | วิสูจน์ รางทอง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:17:55Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:17:55Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6726 | |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพการดำเนินชีวิตของแรงงานต่างด้าว และวิธีการการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแรงงานต่างด้าวประเภทกิจการก่อสร้าง โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ตอน คือ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินชีวิตของแรงงานต่างด้าวด้วยการสัมภาษณ์แรงงานต่างด้าว จำนวน 17 ราย และ 2) ศึกษาวิธีการการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแรงงานต่างด้าวด้วยการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มผู้เกี่ยวข้องที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน จำนวน 12 ราย ผลการวิจัยมีดังนี้ แรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่ไม่ได้รับการศึกษาและมีการศึกษาต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อาชีพเดิมทำเกษตรกรรม และสาเหตุที่ย้ายถิ่นมาทำงานเพราะค่าจ้างแรงงานของไทยสูง และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตมี 4 ด้าน คือ 1) ด้านร่างกาย ไม่มีการตรวจสุขภาพก่อนทำงาน 2) ด้านจิตใจ ไม่พอใจหรือไม่มีความสุขกับสภาพการดำเนินชีวิตโดยเฉพาะแรงงาน ต่างด้าวแอบเข้าเมืองผิดกฎหมายทุกคนและมีสภาพจิตใจอาการคิดถึงบ้านหรือบุคคลในครอบครัว 3) ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการหรือนายจ้างทุกรายไม่มีกิจกรรมสร้างจิตสำนึกเพื่อความจงรักภักดีในองค์กร 4) ด้านปัจจัยจำเป็นในการดำรงชีพ ที่พักอาศัยเป็นห้องสังกะสีไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในการทำงาน วิธีการการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแรงงานต่างด้าวมี 4 ด้าน คือ 1) ด้านร่างกาย ต้องตรวจสุขภาพแรงงานต่างด้าวก่อนรับทำงานและปัจจัยเสี่ยงจากการทำงานเป็นประจำทุกปี 2) ด้านจิตใจ นายจ้างต้องชักนำและส่งเสริมให้แรงงานต่างด้าวเป็นผู้เข้าเมืองทำงานอย่างถูกกฎหมาย ยึดหลักสิทธิมนุษยชน 3) ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม นายจ้างควรอบรมให้ความรู้ ขอความร่วมมือ และให้แรงงานต่างด้าวปฏิบัติตามข้อกำหนด กฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง และรับรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต 4) ด้านปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีพ นายจ้างต้องจ่ายอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำตามกฎหมายกำหนด ที่พักอาศัยควรต้องปลูกสร้างได้มาตรฐาน ด้านสวัสดิการแรงงานที่พักอาศัยสำหรับลูกจ้างประเภทกิจการก่อสร้าง น้ำดื่มต้องสะอาด และอาหารควรถูกหลักสุขอนามัย ต้องจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้เพียงพอกับจำนวนแรงงาน จัดเตรียม ตู้ยาสามัญประจำบ้านทั้งในพื้นที่ปฏิบัติงานและพื้นที่พักอาศัย | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | ความพอใจการทำงาน | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม | |
dc.subject | แรงงานต่างด้าว | |
dc.subject | การทำงาน | |
dc.subject | คุณภาพชีวิตการทำงาน | |
dc.subject | อุตสาหกรรมก่อสร้าง -- ลูกจ้าง | |
dc.title | การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตแรงงานต่างด้าวกลุ่มผู้ใช้แรงงานประเภทกิจการก่อสร้าง | |
dc.title.alternative | Promoting qulity of life for the foreign construction workers | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were 1) to study the conditions of life of foreign construction workers. 2) to study methods for improving their quality of life. The qualitative research method was utilized. The research process was divided in to 2 steps: step one; to study the conditions of life of foreign workers through interviews 17 foreign workers step two; to study methods for improving their quality of life through interviews and focus group with 12 experts in quality of life improvement of labours. The research findings were found that most of foreign workers had no education and some of them had education at lower than secondary school level. They used to be agriculturists. They migrated to work in Thailand because of the higher wage. There were 4 factors affecting their quality of life, they were; physical factor, psychological factor, social and environmental factor, and factors necessary for their survival. Firstly, physical factor, they have no health check-up. Secondly, psychological factor they were unsatisfied and unhappy with their ways of life, especially for the illegal immigrant worker, they got the mental symptoms of homesickness. Thirdly, social and environment factor most of them did not get any activities for building self awareness and loyalty to the organization. Finally factors necessary for their survival, they had poor living condition, lacking of when work personnel protective equipment (PPE). The methods for improving their quality of life consisted of 4 aspects as follows: 1) physical aspect employers had to have health check-up at the recruiting process and during work health check-up annually. 2) psychological aspect, employers had to encourage foreign worker to work legally and treat them with fairness under the principle of human rights. 3) social and environment aspect, employers should conduct on-the jobs-training and training sessions for awareness with rules and regulations on environmental issues that affected their lives. 4) factors necessary for their survival were as follows; wages employers should pay wages at the minimum rate by law, the habitation should be provided as a standard practice, drinking water had to be clean, food should be served and cooked hygienically, personal protective equipment should be provided as required, medical cabinet should be provided both at the construction site area and the residential area. | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | การศึกษาและการพัฒนาสังคม | |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น