กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6714
ชื่อเรื่อง: การจัดกลยุทธ์ของสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Strtegy development for the institute of Security Psychology
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุปราณี ธรรมพิทักษ์
ณัฎฐนันท์ ธนัญชัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: การวางแผนเชิงกลยุทธ์ -- ไทย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
ความมั่นคงแห่งชาติ -- ไทย
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง -- การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง การจัดทำกลยุทธ์ของสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาวะแวดล้อมของสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง และ 2) ศึกษาหากลยุทธ์ของสถาบันจิตวิทยาความมั่นคงผู้ให้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหาร ข้าราชการ และนักศึกษา ของสถาบัน ฯ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 21 คน และเก็บข้อมูลเชิงลึกจากอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ใช้การตรวจสอบข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบ SWOT analysis ผลการวิจัยพบว่า สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง มีจุดแข็งคือ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักเนื่องจากก่อตั้งมานานถึง 60 ปี มีจำนวนศิษย์เก่ามากกว่า 7,000 คน มีอัตลักษณ์และวัฒนธรรมองค์กร สถานที่ตั้งมีความสะดวกในการเดินทาง มีบุคลากรที่มีความสามารถ จุดอ่อนคือการประชาสัมพันธ์ยังน้อยเกินไป ขาดอาจารย์วิชาหลักขาดความต่อเนื่องในการบริหาร และผลงานระดับชาติยังมีน้อย บุคลากรและสิ่งอำนวยความสะดวกยังไม่พอเพียงขาดอิสระในการกำหนดงบประมาณ โครงสร้างยังไม่เอื้อต่อภารกิจหลัก อุปกรณ์การเรียนการสอนยังไม่ทันสมัยโอกาสคือมีการปรับปรุงหลักสูตรทุก 3 ปี มีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานและสามารถสร้างเครือข่ายที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาของชาติได้ ภัยคุกคามคือยังไม่สามารถกำหนดระเบียบ และคัดเลือกนักศึกษาได้เองบุคลากรมีจำกัด มีหลักสูตรของสถาบันอื่น ๆ ในระดับเดียวกัน ยังไม่มีคณะกรรมการจากหน่วยงานภายนอกและงบประมาณมีจำกัด ส่วนกลยุทธ์ด้านการเรียนการสอน ได้แก่ การปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนให้ทันสมัยการเพิ่มความน่าสนใจของหลักสูตร การเป็นพันธมิตรความร่วมมือระหว่างเหล่าทัพ การเพิ่มโลกทัศน์ในการปฏิบัติการข่าวสาร และการวิจัยและพัฒนาเพื่อความมั่นคง กลยุทธ์ด้านบุคลากร ได้แก่ การเสริมสร้างการเรียนรู้ทั้งในและต่างประเทศ การสร้างวิทยากรต้นแบบ การจัดหาวิทยากรภายนอก จากจัดอบรมภายในหน่วยและความเป็นเลิศด้านสวัสดิการ กลยุทธ์ด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ การปรับปรุงภูมิทัศน์การจัดห้องบรรยายให้ทันสมัย การมีสุขอนามัยดีเด่น การจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอและความเป็นเลิศด้านระบบสารสนเทศ และกลยุทธ์ด้านการตอบสนองต่อภารกิจของบัญชาการกองทัพไทย ได้แก่ การจัดสัมมนาระดับกองทัพ ความร่วมมือกับกรมกิจกรพลเรือนทหาร การจัดกิจกรรมเพื่อสังคม การพัฒนาสัมพันธ์
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6714
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น