กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6586
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาระบบคลังคำภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of the ffective norms for thi words (thi-nw) bnk system |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เสรี ชัดแช้ม พีร วงศ์อุปราช จันทร์เพ็ญ งามพรม มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
คำสำคัญ: | ภาษาไทย -- การใช้ภาษา มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา ภาษาไทย -- คำศัพท์ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | คำเป็นสื่อที่ทุกชนชาติทุกภาษาใช้ทำความเข้าใจระหว่างกัน คำยังเป็นสิ่งเร้าที่สื่อถึงอารมณ์ความรู้สึก การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คำภาษาไทยด้านอารมณ์ความรู้สึกและตรวจสอบคุณภาพของคำภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก ด้านค่าความตรงเชิงเนื้อหา ค่าอำนาจจำแนก ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคำแต่ละคำ ค่าความเที่ยงด้านอารมณ์ ความรู้สึกแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านความประทับใจ ด้านการตื่นตัว และด้านการมีอิทธิพล พัฒนาโปรแกรม คอมพิวเตอร์ระบบคลังคำภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก และเปรียบเทียบอารมณ์ ความรู้สึกระหว่างเพศหญิงกับเพศชายต่อคำภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นคนสัญชาติไทย อาศัยอยู่ในประเทศไทย อายุระหว่าง 18 ปีถึง 60 ปีไม่จำกัดเพศ ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส เลือกตัวอย่างแบบอาสาสมัครจำแนกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มตรวจสอบคุณภาพของคำภาษาไทย จำนวน 800 คน และ 2) กลุ่มเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกระหว่างเพศชายกับเพศหญิง จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดคำภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก และมาตรวัดอารมณ์ความรู้สึก (The Self-Assessment Manikin: SAM) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. คำภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึกที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว จำนวน 528 คำ แบ่งเป็นด้านอารมณ์ความรู้สึก 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความประทับใจ จำนวน 211 คำ (ลักษณะประทับใจมาก จำนวน 87 คำ ลักษณะเฉย ๆ จำนวน 12 คำ และลักษณะไม่ประทับใจ จำนวน 112 คำ) 2) ด้านการตื่นตัว จำนวน 159 คำ (ลักษณะตื่นเต้น จำนวน 120 คำ ลักษณะเฉย ๆ จำนวน 29 คำ และลักษณะสงบ จำนวน 10 คำ) และ 3) ด้านการมีอิทธิพล จำนวน 158 คำ (ลักษณะกลัว จำนวน 100 คำ ลักษณะเฉย ๆ จำนวน 36 คำ และลักษณะไม่กลัว จำนวน 22 คำ) 2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบคลังคำภาษาไทยบรรทัดฐานออนไลน์พัฒนาในรูปแบบเว็บ แอพพลิเคชั่น จัดเก็บคำภาษาไทยที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว 3. ผลการเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกชี้ให้เห็นว่า เพศหญิงมีค่าเฉลี่ยอารมณ์ความรู้สึก มากกว่าเพศชายในด้านความประทับใจลักษณะประทับใจมาก ด้านการมีอิทธิพลลักษณะกลัว และลักษณะเฉย ๆ แต่เพศชายมีค่าเฉลี่ยอารมณ์ความรู้สึกสูงกว่าเพศหญิงในด้านความประทับใจลักษณะไม่ประทับใจ ด้านการตื่นตัวลักษณะสงบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า เพศหญิงมีอารมณ์ความรู้สึกต่อคำภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึกแตกต่างจากเพศชาย |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6586 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 7.85 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น