กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6586
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเสรี ชัดแช้ม
dc.contributor.advisorพีร วงศ์อุปราช
dc.contributor.authorจันทร์เพ็ญ งามพรม
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned2023-05-12T03:08:57Z
dc.date.available2023-05-12T03:08:57Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6586
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractคำเป็นสื่อที่ทุกชนชาติทุกภาษาใช้ทำความเข้าใจระหว่างกัน คำยังเป็นสิ่งเร้าที่สื่อถึงอารมณ์ความรู้สึก การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คำภาษาไทยด้านอารมณ์ความรู้สึกและตรวจสอบคุณภาพของคำภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก ด้านค่าความตรงเชิงเนื้อหา ค่าอำนาจจำแนก ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคำแต่ละคำ ค่าความเที่ยงด้านอารมณ์ ความรู้สึกแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านความประทับใจ ด้านการตื่นตัว และด้านการมีอิทธิพล พัฒนาโปรแกรม คอมพิวเตอร์ระบบคลังคำภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก และเปรียบเทียบอารมณ์ ความรู้สึกระหว่างเพศหญิงกับเพศชายต่อคำภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นคนสัญชาติไทย อาศัยอยู่ในประเทศไทย อายุระหว่าง 18 ปีถึง 60 ปีไม่จำกัดเพศ ระดับการศึกษา และสถานภาพสมรส เลือกตัวอย่างแบบอาสาสมัครจำแนกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มตรวจสอบคุณภาพของคำภาษาไทย จำนวน 800 คน และ 2) กลุ่มเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกระหว่างเพศชายกับเพศหญิง จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดคำภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก และมาตรวัดอารมณ์ความรู้สึก (The Self-Assessment Manikin: SAM) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. คำภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึกที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว จำนวน 528 คำ แบ่งเป็นด้านอารมณ์ความรู้สึก 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความประทับใจ จำนวน 211 คำ (ลักษณะประทับใจมาก จำนวน 87 คำ ลักษณะเฉย ๆ จำนวน 12 คำ และลักษณะไม่ประทับใจ จำนวน 112 คำ) 2) ด้านการตื่นตัว จำนวน 159 คำ (ลักษณะตื่นเต้น จำนวน 120 คำ ลักษณะเฉย ๆ จำนวน 29 คำ และลักษณะสงบ จำนวน 10 คำ) และ 3) ด้านการมีอิทธิพล จำนวน 158 คำ (ลักษณะกลัว จำนวน 100 คำ ลักษณะเฉย ๆ จำนวน 36 คำ และลักษณะไม่กลัว จำนวน 22 คำ) 2. โปรแกรมคอมพิวเตอร์ระบบคลังคำภาษาไทยบรรทัดฐานออนไลน์พัฒนาในรูปแบบเว็บ แอพพลิเคชั่น จัดเก็บคำภาษาไทยที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว 3. ผลการเปรียบเทียบอารมณ์ความรู้สึกชี้ให้เห็นว่า เพศหญิงมีค่าเฉลี่ยอารมณ์ความรู้สึก มากกว่าเพศชายในด้านความประทับใจลักษณะประทับใจมาก ด้านการมีอิทธิพลลักษณะกลัว และลักษณะเฉย ๆ แต่เพศชายมีค่าเฉลี่ยอารมณ์ความรู้สึกสูงกว่าเพศหญิงในด้านความประทับใจลักษณะไม่ประทับใจ ด้านการตื่นตัวลักษณะสงบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า เพศหญิงมีอารมณ์ความรู้สึกต่อคำภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึกแตกต่างจากเพศชาย
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectภาษาไทย -- การใช้ภาษา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subjectภาษาไทย -- คำศัพท์
dc.titleการพัฒนาระบบคลังคำภาษาไทยบรรทัดฐานด้านอารมณ์ความรู้สึก
dc.title.alternativeDevelopment of the ffective norms for thi words (thi-nw) bnk system
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeWords are media for mutual understanding in every nationality and language. Hence, words are stimuli which convey emotion. The objectives of this research were (1) to analyze the Thai words of affective and to assess the quality of the affective norms for Thai words via content validity, a discrimination index, the mean and standard deviation of Thai words, the reliability of Thai words for three emotional domains (i.e. valence, arousal, and dominance); (2) to develop the affective norms for Thai words (Thai-ANW) bank system; and (3), to compare emotions between males and females on Thai words. The sample used in this study involved Thai volunteers who lived in Thailand, and were aged between 18 and 60 years, regardless of gender, educational level, and marital status. The initial sample was divided into two groups: 1) a validation group for checking the quality of Thai words, composed of 800 people; and 2) a crossvalidation group for comparing the emotion between males and females-this group involved 300 people. Thai affective words and the Self-Assessment Manikin Scale were employed in the study, and t-tests were used to analyze the data. It was found that; 1. A total of 528 Thai affective words were validated and retained. These words were classified along the three emotion dimensions: 1) 211 valence words (87 pleasure, 12 neutral, and 112 unpleasure), 2) 159 arousal words (120 excited, 29 neutral, and 10 calm), and 3) 158 dominance words (100 uncontrol, 36 neutral, and 22 control). 2. A user-friendly computerized program of the Thai Affective Words (ThaiANW) Bank System was developed as an online web application for housing the validated Thai affective words. 3. The comparison of emotion between males and females indicated that females were significantly higher than males on the dimensions of valence (pleasure) and dominance (uncontrol and neutral), but males were significantly higher on the dimensions of valence (unpleasure) and arousal (calm). Thus, it could be summarized that there were gender differences in emotional responses to Thai affective words.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf7.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น