กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6561
ชื่อเรื่อง: แนวคิดเกี่ยวกับตนเองและการบริโภคเชิงสัญญะของแฟนคลับศิลปินเพลงเกาหลี กรณีศึกษาศิลปินวง Girls' generation
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Self concept nd consumption of signs of Koren musicl rtists’ fn club : girls’ genertion cse study
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชมพูนุช ปัญญไพโรจน์
กมลพรรณ อาการส
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: ความพอใจของผู้บริโภค
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด
ความภักดีต่อชื่อตราผลิตภัณฑ์
พฤติกรรมผู้บริโภค
ผู้บริโภค -- ทัศนคติ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับตนเองของแฟนคลับศิลปินเพลง เกาหลีวง Girls’ Generation หลังจากเข้าร่วมกลุ่มแฟนคลับ การบริโภคสินค้าที่เกี่ยวข้องกับศิลปินฯ ในเชิงสัญญะของกลุ่มแฟนคลับและความสัมพันธ์ระหว่างตัวตนของแฟนคลับศิลปินฯ กับการบริโภค สินค้าที่เกี่ยวข้องกับศิลปินฯ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้นําและสมาชิกกลุ่มแฟนคลับของศิลปินวง Girls’ Generation จํานวน 30 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 ในประเด็นแนวคิดเกี่ยวกับตนเองของแฟนคลับศิลปินเพลงเกาหลีวง Girls’ Generation ผลการวิจัยพบว่าแฟนคลับมีการเปลี่ยนแปลงตัวตนหลังจากได้รับชมผลงานเพลงของศิลปินฯ ในฐานะตราสินค้าบุคคล และมีการเปลี่ยนแปลงในภาพลักษณ์เกี่ยวกับตนเองที่แท้จริงและภาพลักษณ์เกี่ยวกับตนเองในอุดมคติ ในประเด็นการบริโภคสินค้าในเชิงสัญญะของกลุ่มแฟนคลับผลการวิจัยพบว่าแฟนคลับ มีการบริโภคสินค้าที่เกี่ยวข้องกับศิลปินฯ ทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ สินค้าที่ผลิตโดยบริษัทต้นสังกัดของศิลปินฯ สินค้าที่กลุ่มแฟนคลับจัดทําขึ้นเพื่อจําหน่ายในกลุ่มแฟนคลับด้วยกันเอง สินค้าเลียนแบบ และสินค้าที่ศิลปินฯ เป็นพรีเซ็นเตอร์หรือถ่ายแบบทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกและยังพบ การบริโภคทั้ง 4 ตรรกะในสินค้าเหล่านี้ในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวตนของแฟนคลับกับ การบริโภคสินค้าที่เกี่ยวข้องกับศิลปินฯ ผลการวิจัยพบว่า ช่วงแรกของการเป็นแฟนคลับศิลปินฯ พวกเขาได้เปิดรับชมผลงานของศิลปินฯ ในฐานะตราสินค้าบุคคลและยอมรับในความสามารถและรูปลักษณ์ของศิลปินฯ จนเกิดความชื่นชอบและพฤติกรรมการเลียนแบบศิลปินฯ ต่อมาพวกเขาจึงเริ่ม ซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้องกับศิลปินฯ ให้สอดคล้องในตนเองที่แท้จริงและความสอดคล้องในตนเองในอุดมคติโดยแรงจูงใจในการซื้อมีตั้งแต่แรงจูงใจภายในให้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับความคิด หรือความเชื่อที่มีต่อตนเองแรงจูงใจภายในที่อยากจะมีความภูมิใจในตนเองมากขึ้นแรงจูงใจภายใน เพื่อรักษาภาพลักษณ์ที่คนอื่นมีต่อตนเองและแรงจูงใจที่ต้องการการยอมรับจากสังคม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6561
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น