กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6561
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorชมพูนุช ปัญญไพโรจน์
dc.contributor.authorกมลพรรณ อาการส
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:01:51Z
dc.date.available2023-05-12T03:01:51Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6561
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับตนเองของแฟนคลับศิลปินเพลง เกาหลีวง Girls’ Generation หลังจากเข้าร่วมกลุ่มแฟนคลับ การบริโภคสินค้าที่เกี่ยวข้องกับศิลปินฯ ในเชิงสัญญะของกลุ่มแฟนคลับและความสัมพันธ์ระหว่างตัวตนของแฟนคลับศิลปินฯ กับการบริโภค สินค้าที่เกี่ยวข้องกับศิลปินฯ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้นําและสมาชิกกลุ่มแฟนคลับของศิลปินวง Girls’ Generation จํานวน 30 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 ในประเด็นแนวคิดเกี่ยวกับตนเองของแฟนคลับศิลปินเพลงเกาหลีวง Girls’ Generation ผลการวิจัยพบว่าแฟนคลับมีการเปลี่ยนแปลงตัวตนหลังจากได้รับชมผลงานเพลงของศิลปินฯ ในฐานะตราสินค้าบุคคล และมีการเปลี่ยนแปลงในภาพลักษณ์เกี่ยวกับตนเองที่แท้จริงและภาพลักษณ์เกี่ยวกับตนเองในอุดมคติ ในประเด็นการบริโภคสินค้าในเชิงสัญญะของกลุ่มแฟนคลับผลการวิจัยพบว่าแฟนคลับ มีการบริโภคสินค้าที่เกี่ยวข้องกับศิลปินฯ ทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ สินค้าที่ผลิตโดยบริษัทต้นสังกัดของศิลปินฯ สินค้าที่กลุ่มแฟนคลับจัดทําขึ้นเพื่อจําหน่ายในกลุ่มแฟนคลับด้วยกันเอง สินค้าเลียนแบบ และสินค้าที่ศิลปินฯ เป็นพรีเซ็นเตอร์หรือถ่ายแบบทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกและยังพบ การบริโภคทั้ง 4 ตรรกะในสินค้าเหล่านี้ในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวตนของแฟนคลับกับ การบริโภคสินค้าที่เกี่ยวข้องกับศิลปินฯ ผลการวิจัยพบว่า ช่วงแรกของการเป็นแฟนคลับศิลปินฯ พวกเขาได้เปิดรับชมผลงานของศิลปินฯ ในฐานะตราสินค้าบุคคลและยอมรับในความสามารถและรูปลักษณ์ของศิลปินฯ จนเกิดความชื่นชอบและพฤติกรรมการเลียนแบบศิลปินฯ ต่อมาพวกเขาจึงเริ่ม ซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้องกับศิลปินฯ ให้สอดคล้องในตนเองที่แท้จริงและความสอดคล้องในตนเองในอุดมคติโดยแรงจูงใจในการซื้อมีตั้งแต่แรงจูงใจภายในให้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับความคิด หรือความเชื่อที่มีต่อตนเองแรงจูงใจภายในที่อยากจะมีความภูมิใจในตนเองมากขึ้นแรงจูงใจภายใน เพื่อรักษาภาพลักษณ์ที่คนอื่นมีต่อตนเองและแรงจูงใจที่ต้องการการยอมรับจากสังคม
dc.language.isoth
dc.publisherคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความพอใจของผู้บริโภค
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด
dc.subjectความภักดีต่อชื่อตราผลิตภัณฑ์
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค
dc.subjectผู้บริโภค -- ทัศนคติ
dc.titleแนวคิดเกี่ยวกับตนเองและการบริโภคเชิงสัญญะของแฟนคลับศิลปินเพลงเกาหลี กรณีศึกษาศิลปินวง Girls' generation
dc.title.alternativeSelf concept nd consumption of signs of Koren musicl rtists’ fn club : girls’ genertion cse study
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe study’s purpose was three-fold: (a) to examine Thai fans’ self-concept given their participation as the fan clubs of Girls’ Generation musical artists – a South Korean girl group, in Thailand; (b) to investigate the consumption of signs of the products related to musical artists’ group; and (c) to investigate the relationship between Thai fan’s self-concept and the products’ consumption. Driven by qualitative approach, the study employed in-depth interviews with 30 leaders and members of Korean musical artists and the participants were selected using purposive sampling techniques. Data were collecting from October through December, 2016. Results revealed that after exposing to musical artists’ work, Thai fans changed their self-concept, both actual self-image and ideal self-image. For the consumption of signs of the products related to the musical artists’ group, results revealed that Thai fans indicated that four types of the products they were likely to purchase, i.e., products made by the artists’ agency company (official goods); products that fan clubs produced and sold among fans; pirated products; and local-global product brands that employed to Girls’ Generation to be a presenter or brand ambassador. Four logics of consumption occurred among four product types. Regarding the relationship between Thai fan’s self-concept and the products’ consumption, results revealed that Thai fans tended to accept and display favoritism toward the Girls’ Generation musical artists’ capabilities and physical attractiveness, then they were likely to imitate the artists in terms of actions, the way of thinking and lifestyle in daily lives. Specifically, they began to buy the products related to the musical artists to response their actual-self congruence and ideal-self congruence. Their motivations to buy the products were to serve their self-consistency motivation, self-esteem motivation, social-consistency motivation and social approval motivation.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการสื่อสารการตลาด
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น