กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6467
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ Lean เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานในการออกใบขนสินค้าเข้าในเขตปลอดอากร Wyncoast
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The ppliction of len mngement on issunce of the import entry bill in Wyncost freezone
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภัทรี ฟรีสตัด
ยิ่งยศ โชคชัยวรรัตน์
จินตวัต คล้ายเผือก
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: การควบคุมสินค้าขาเข้า
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร
การผลิตแบบลีน
เอกสารการค้า
เขตปลอดอากร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักสองประการ ประการแรกเป็นการวิเคราะห์หาความสูญเปล่าในกิจกรรมการดําเนินงานในการออกใบขนสินค้าขาเข้าสําหรับพิธีการทางศุลกากรในการปฏิบัติงานภายในเขตปลอดอากร ประการที่สองเพื่อปรับปรุงกระบวนการออกใบขนสินค้าขาเข้าภายในเขตปลอดอากรเพื่อลดความสูญเปล่าในการทํางาน ซึ่งทั้งสองประการดังกล่าวใช้วิธีการประยุกต์การใช้การจัดการแบบลีนเป็นพื้นฐานในการพิจารณา ทั้งนี้เนื่องจาก การดําเนินงานภายในเขตปลอดอากรแตกต่างจากการดําเนินงานในแบบปกติ ผลวิจัยพบว่าประการแรก พบว่า 29 ปัญหาในการดําเนินงานนั้น จะเกี่ยวข้องกับเอกสาร 29 ในการยื่นขอนําสินค้าเข้าในเขตปลอดอากรต่อกรมศุลกากรซึ่งยังพบความผิดพลาดในการดําเนินงานในส่วนนี้หากพบความผิดพลาดจําเป็นต้องมีการแก้ไขเอกสาร โดยที่การแก้ไขเอกสารนั้นจะมีการดําเนินคดีทางศุลกากร และเสียค่าปรับในการแก้ไขเอกสาร ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น โดยไม่จําเป็น และยังเป็นความสูญเปล่าในกิจกรรมการดําเนินงาน และประการที่สองพบว่า การประยุกต์ใช้การจัดการแบบลีนสามารถใช้เป็นแนวทางในการลดความสูญเปล่าในการดําเนินงาน โดยเฉพาะความสูญเสียเนื่องมาจากการแก้ไขข้อผิดพลาดในการทํางาน หรือ Defect ซึ่งส่งผลเสียต่องานที่ทําจะต้องนํามาสู่การแก้ไข และ ความสูญเสียเนื่องมาจากการทํางานซํ้าซ้อนหรือ Over processing ซึ่งเกิดจากการทํางานซํ้าซ้อน ต้องมีการการทํางานให้ถูกต้องตั้งแต่แรก ในส่วนของรายละเอียดในเอกสารที่ไม่ครบถ้วนหรือรายละเอียดผิด ซึ่งทําให้เกิดปัญหาภายหลัง สามารถแก้ไขได้โดยการรวบรวมข้อมูลในส่วนของสินค้าไม่ว่าจะเป็น ชื่อสินค้า ราคาสินค้า น้ำหนัก จํานวนรวมไปถึง พิกัดภาษีศุลกากร และรูปภาพประกอบ หากมีข้อมูลครบถ้วน หรือข้อมูลเพิ่มเติม 29 ที่จะช่วยในการตรวจสอบสินค้าของเจ้าหน้าที่ศุลกากร และควรการประยุกต์ระบบ IT มาปรับใช้ เช่น ระบบ Netbay หรือ National single window เป็นต้น เพื่อให้ง่ายต่อการทํางานและยังสามารถป้องกันความผิดพลาดได้อีกด้วย
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6467
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf6.8 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น