กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6431
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมของวิศวกรชาวไทยในการไปปฏิบัติงานในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน+3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors influencing rediness of thi engineers to work in sen+3 countries
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณภัคอร ปุณยภาภัสสรา
ญาณิกา ปานศรี
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: วิศวกร -- ไทย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก
วิศวกร -- การปฏิบัติงาน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัจจัยส่วนบุคคล สมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องและความพร้อมของวิศวกรชาวไทยในการไปปฏิบัติงานในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน+3 เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรม และการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องที่มีผลต่อความพร้อมของวิศวกรชาวไทยในการไปปฏิบัติงานในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 405 คน มีเพศชาย จำนวน 295 คน และเพศหญิง จำนวน 110 คน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 26-30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาด้านสาขาวิชาเครื่องกล สถานภาพโสด จำนวน 251 คน ประสบการณ์การทำงานที่ 3-5 ปี จำนวน 214 คน ตำแหน่งวิศวกรรายได้ส่วนใหญ่ 15,000-30,000 บาท และกลุ่มประเทศที่ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมให้ความสนใจมากที่สุด คือ สิงคโปร์สำ หรับระดับสมรรถนะทั้ง 3 ด้าน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยมีสมรรถนะด้านค่านิยมเป็นอันดับที่ 1 รองลงมาคือ สมรรถนะด้านทักษะ และสมรรถนะด้านความรู้ ตามลำดับ ซึ่งการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องของวิศวกรชาวไทย คือ ทางการพัฒนางานด้านวิศวกรรมเป็นลำดับที่ 1 และการพัฒนาทักษะวิชาชีพ เป็นลำดับที่ 2 สำหรับความพร้อมของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยลำดับที่ 1 คือการเห็นคุณค่าและเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่าง ลำดับที่ 2 คือการแสดงความคิดที่เป็นสากล และลำดับที่ 3 คือการพูดได้มากกว่าหนึ่งภาษาผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ความพร้อมในการไปปฏิบัติงานในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ไม่แตกต่าง สำหรับสมรรถนะของวิศวกรชาวไทยและการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องมีผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุระหว่างตัวแปรอิสระ “สมรรถนะ”, ”การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง” และตัวแปรตาม “ความพร้อม” มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ที่แสดงให้เห็นว่า สมรรถนะของวิศวกรชาวไทยมีอิทธิพลต่อความพร้อมในการปฏิบัติงาน และการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมของวิศวกรชาวไทยในการไปปฏิบัติงานในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน+3
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6431
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น