กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6431
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorณภัคอร ปุณยภาภัสสรา
dc.contributor.authorญาณิกา ปานศรี
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T02:51:16Z
dc.date.available2023-05-12T02:51:16Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6431
dc.descriptionงานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปัจจัยส่วนบุคคล สมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องและความพร้อมของวิศวกรชาวไทยในการไปปฏิบัติงานในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน+3 เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพ วิศวกรรม และการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องที่มีผลต่อความพร้อมของวิศวกรชาวไทยในการไปปฏิบัติงานในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง 405 คน มีเพศชาย จำนวน 295 คน และเพศหญิง จำนวน 110 คน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุอยู่ระหว่าง 26-30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาที่สำเร็จการศึกษาด้านสาขาวิชาเครื่องกล สถานภาพโสด จำนวน 251 คน ประสบการณ์การทำงานที่ 3-5 ปี จำนวน 214 คน ตำแหน่งวิศวกรรายได้ส่วนใหญ่ 15,000-30,000 บาท และกลุ่มประเทศที่ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมให้ความสนใจมากที่สุด คือ สิงคโปร์สำ หรับระดับสมรรถนะทั้ง 3 ด้าน ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยมีสมรรถนะด้านค่านิยมเป็นอันดับที่ 1 รองลงมาคือ สมรรถนะด้านทักษะ และสมรรถนะด้านความรู้ ตามลำดับ ซึ่งการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องของวิศวกรชาวไทย คือ ทางการพัฒนางานด้านวิศวกรรมเป็นลำดับที่ 1 และการพัฒนาทักษะวิชาชีพ เป็นลำดับที่ 2 สำหรับความพร้อมของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยลำดับที่ 1 คือการเห็นคุณค่าและเข้าใจในวัฒนธรรมที่แตกต่าง ลำดับที่ 2 คือการแสดงความคิดที่เป็นสากล และลำดับที่ 3 คือการพูดได้มากกว่าหนึ่งภาษาผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน ความพร้อมในการไปปฏิบัติงานในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ไม่แตกต่าง สำหรับสมรรถนะของวิศวกรชาวไทยและการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องมีผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุระหว่างตัวแปรอิสระ “สมรรถนะ”, ”การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง” และตัวแปรตาม “ความพร้อม” มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ที่แสดงให้เห็นว่า สมรรถนะของวิศวกรชาวไทยมีอิทธิพลต่อความพร้อมในการปฏิบัติงาน และการพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ที่มีอิทธิพลต่อความพร้อมของวิศวกรชาวไทยในการไปปฏิบัติงานในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน+3
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectวิศวกร -- ไทย
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก
dc.subjectวิศวกร -- การปฏิบัติงาน
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมของวิศวกรชาวไทยในการไปปฏิบัติงานในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน+3
dc.title.alternativeFctors influencing rediness of thi engineers to work in sen+3 countries
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research attempts to explore personal factors, competency of professional engineer, continuous professional development, and the readiness of Thai engineers to work in ASEAN +3 countries, to study influence between competency of professional engineer and continuous professional development influencing on the readiness of Thai engineers to work in ASEAN +3 countries. The findings reveal that of all 405 subjects, there were 295 males and 110 females. The majority of respondents were between 26-30 years old, obtained bachelor degree, and graduated in mechanic major. 251 respondents were single, 214 engineers had three to five years of work experience in the position of engineer. Mostly, they earned 15,000-30,000 baht per month, country that they most interested in was Singapore. Their competency was at moderate level. Considering in each aspect, value was at the first place, then the ranks were down to skills, knowledge, respectively. For continuous professional development factors, the first rank was the development in engineering and the second rank was the professional development. The readiness of professional engineers in overall reached at moderate level. The first rank was value perception and understanding in different culture, the second rank was expressing international idea, and the third rank was the ability to speak of more than one language. It was found from testing hypothesis that different personal factor influenced on the readiness to work in ASEAN +3 countries with no difference. The study on competency of Thai engineers and continuous professional development show that the multiple correlation value between independent variables-competency, continuous professional development, and dependent variable - readiness were related to each other. The study on multiple regression analysis show that competency of Thai engineer had influenced on the readiness for the performance whilst continuous professional development had an impact on the readiness of Thai engineers to work in ASEAN +3 countries.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการจัดการธุรกิจโลก
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น