กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6202
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตด้วยแนวคิดการผลิตแบบโตโยต้า : กรณีศึกษาตัวบังคับเลี้ยว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Production efficiency improvement using Toyot production system concep :bcse study link power steering
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จักรวาล คุณะดิลก
เบญจมาศ ด่านระงับ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: การควบคุมกระบวนการผลิต
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
ระบบการผลิตแบบทันเวลา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการงานวิศวกรรม
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์
อุตสาหกรรมรถยนต์ -- การควบคุมการผลิต
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ -- การควบคุมการผลิต
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสายการประกอบต้วยบังคับเลี้ยวหลักการระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota production system, TPS) ถูกนำมาประยุกต์ในการลดความสูญเปล่าด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสายการประกอบนี้จากการศึกษาและวิเคราะห์การทำงาน พบว่า สาเหตุหลักของเวลาสูญเปล่าเกิดจากเครื่องตรวจสอบชิ้นงานอัตโนมัติต้องตรวจสอบชิ้นงานซ้ำ การเปลี่ยนรุ่น และการตรวจสภาพและการซ่อมแซมเครื่องตรวจสอบการรั่วของชิ้นงาน นอกจากนี้ยังพบว่า สายการประกอบใช้พนักงานมากเกินความจำเป็นทำให้ประสิทธิภาพของสายการประกอบต่ำกว่าเป้าหมายที่บริษัทกำหนดไว้งานวิจัยจึงได้ทำการปรับปรุงแก้ไขสาเหตุความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น ได้แก่ การเปลี่ยนปั๊มลมของเครื่องตรวจสอบชิ้นงานอัตโนมัติให้สร้างแรงดันอากาศที่เพียงพอและสม่ำเสมอการเปลี่ยนตำแหน่งจิ๊กที่ใช้ระหว่างการเปลี่ยนรุ่นการผลิตที่ทำให้พนักงานทำงานได้ง่ายสะดวกขึ้น การเปลี่ยนตำแหน่งปั๊มลมของเครื่องตรวจสอบการรั่วให้อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ขวางการทำงานของพนักงานประกอบ จากนั้นจึงทำการจัดสมดุลสายการประกอบใหม่ที่ทำให้สามารถลดจำนวนพนักงาน โดยที่เวลานำของการผลิตในแต่ละสถานีงานมีเข้าใกล้กับความเร็วการผลิตที่กำหนด การจัดสมดุลสายการผลิตในงานวิจัยได้ทำการกำจัดงานที่ไม่จำเป็นการร่วมงาน การจัดลำดับการประกอบใหม่และการใช้อุปกรณ์แทนแรงงานในการช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของสายการผลิตดีขึ้นจากเดิม 85.19% เป็น 95.6% ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของบริษัท ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 4.93 ชิ้นต่อคนต่อชั่วโมง เป็น 7.44 ชิ้นต่อคน ต่อชั่วโมงและต้นทุนด้านแรงงานลดลงประมาณ 600,000.00 บาทต่อปี
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6202
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf6.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น