กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6198
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาวิธีการเก็บตัวอย่างวัสดุที่เหมาะสมสำหรับงาน Pavement in-place recycling : กรณีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A study for suitble smpling methods for the pvement in-plce recycling :b cse study of pvement in-plce recycling process on Highwy No. 344 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อานนท์ วงษ์แก้ว ทวีศักดิ์ เจียมรัตโนภาส มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรม -- กลุ่มวิชาเทคโนโลยีการจัดการงานก่อสร้าง ทางหลวง -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเก็บตัวอย่างวัสดุเพื่อนำมาคำนวณหาปริมาณซีเมนต์ที่เหมาะสมของส่วนผสมสำ หรับงานก่อสร้างผิวทางด้วยวิธี Pavement in-place recycling การศึกษาดำเนินการเปรียบเทียบค่าปริมาณซีเมนต์ที่ได้จากการเก็บตัวอย่าวัสดุโดยวิธีใช้เครื่อง SAW (Sawing machine) และวิธีใช้กากผิว (Reclaimed asphalt pavement) กับวิธีเก็บตัวอย่างวัสดุจากเครื่องจักรที่ใช้ทำงานจริง (Direct in-situ method) วิศวกรสามารถคำนวณหาปริมาณซีเมนต์ที่เหมาะสมต่อการทำงานได้แม่นยำกว่าการกำหนดปริมาณซีเมนต์ที่ร้อยละ 4.0 ของมวลรวม โดยน้ำหนักซึ่งเป็นค่าที่ได้จากเชิงประสบการณ์และเป็นค่าที่นิยมใช้ในการกำหนดปริมาณซีเมนต์ในงานก่อสร้างผิวทางด้วยวิธีนี้ในปัจจุบัน ตัวอย่างวัสดุทั้งหมดจากการเก็บตัวอย่างทั้ง 3 วิธี จะถูกทดสอบตามมาตรฐานงานทางของกรมทางหลวง โดยใช้ค่าขนาดคละ ปริมาณน้ำที่เหมาะสม และค่ากำลังอัตราจากนั้นค่าที่ได้จากการทดสอบถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อใช้หาปริมาณซีเมนต์ที่เหมาะสมต่อไป ผลการศึกษา พบว่า ปริมาณซีเมนต์ที่เหมาะสมของส่วนผสมจากวิธีการใช้เครื่อง SAW วิธีใช้กากผิวและวิธีที่เก็บตัวอย่างวัสดุจากเครื่องจักรที่ใช้ทำงานจริง มีค่าเท่ากับร้อยละ 3.7 ร้อยละ 3.6 และร้อยละ 3.5 ของมวลรวมโดยน้ำหนัก ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 3 วิธีมีค่าปริมาณซีเมนต์น้อยกว่าร้อยละ 4.0 ของมวลรวมโดยน้ำหนักและเมื่อนำมาคำนวณเปรียบเทียบด้านราคาต้นทุนก่อสร้างของทั้ง 3 วิธีเปรียบเทียบกับวิธีเชิงประสบการณ์แล้ว พบว่า ราคาต้นทุนลดลงร้อยละ 7.5 ร้อยละ 10.0 และร้อยละ 12.5 ตามลำดับ ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่า วิธีการในการเก็บตัวอย่างวัสดุ โดยวิธีใช้เครื่อง SAW และวิธีใช้กากผิว สามารถใช้เป็นวิธีในการเก็บตัวอย่างวัสดุเพื่อหาปริมาณซีเมนต์ที่เหมาะสมในการทำงาน Pavement in-place recycling ของโครงการก่อสร้างทางผิวทาง ประเภทนี้ของกรมทางหลวงได้ต่อไป |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6198 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 4.66 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น