กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6171
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดแบบกระดาษสำหรับวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี Ferric reducing antioxident power (FRAP) ในตัวอย่างชา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development ofpper-bsed ferric reducing ntioxidntpower (frp) ssyfor ntioxidnt ctivity nlysisin te smples |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ยุภาพร สมีน้อย ภคพล จุ้มใหญ่ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ชา มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเคมีศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี FRAP บนอุปกรณ์ตรวจวัดแบบกระดาษโดยอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงสีของสารประกอบเชิงซ้อนของ Fe3+ ([Fe(TPTZ)]3+) ที่มีสีน้ำตาลอ่อนถูกรีดิวซ์ไปเป็นสารประกอบเชิงซ้อนของ Fe2+ ([Fe(TPTZ)]2+) ซึ่งมีสีน้ำเงิน อุปกรณ์ตรวจวัดแบบกระดาษนี้สร้างขึ้นให้มีรูปร่างเป็นแบบหลุม (well) มีขนาดเส้น ผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร ด้วยวิธีพิมพ์ด้วยขี้ผึ้ง (wax printing) ลงบนกระดาษกรอง whatman เบอร์ 4 เพื่อสร้างบริเวณส่วนกั้นที่ไม่ชอบน้ำ (hydrophobic barrier) ไว้สำหรับในการวิเคราะห์สารทำการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการเคราะห์ ได้แก่ ความเข้มข้นของ Fe3+ ที่ เหมาะสมสำหรับการเตรียมสารละลาย FRAP รีเอเจนต์ และเวลาในการเกิดปฏิกิริยาบนอุปกรณ์ตรวจวัด โดยใช้สารมาตรฐานคือ กรดแกลลิก จากการทดลองพบว่าความเข้มข้นของ Fe3+ ที่เหมาะสมเท่ากับ 60 มิลลิโมลาร์ และเวลาที่เหมาะสมของการเกิดปฏิกิริยาของสารต้านอนุมูลอิสระมาตรฐานบนอุปกรณ์ตรวจวัดแบบกระดาษอยู่เท่ากับ 5 นาที จากการวิเคราะห์สารต้านอนุมูลอิสระมาตรฐานกรดแกลลิกและทรล็อกซ์ด้วยอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นพบว่า มีช่วงความเป็น เส้นตรงที่ 0.1-2.0 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรและ 0.5-2.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ ค่าการทำซ้ำดีโดยมีค่าร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ 4.45-14.75 และ 8.26-17.05 จากการวิเคราะห์กรดแกลลิกและโทรล็อกซ์ที่มีความเข้มข้นในช่วงกราฟมาตรฐานซ้ำ 8 ครั้ง มีขีดจำกัดการตรวจวัดเท่ากับ 0.07 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรและ 0.30 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สำหรับการวิเคราะห์กรดแกลลิคและโทรล็อกซ์ ตามลำดับ และผลการศกึษาความแม่นของการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของวิธี FRAP ที่พัฒนาขึ้น (paper-based device) เทียบกับวิธี FRAP แบบดั้งเดิม (spectrophotometric assay) โดยวิเคราะห์ตัวอย่างชาจำนวน 14 ตัวอย่าง พบว่าผลการวิเคราะห์ได้จากทั้งสองวิธีให้ค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6171 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 3.23 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น