กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6155
ชื่อเรื่อง: โอกาสทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์พริกไทยที่ผลิตโดยกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอ่าวคุ้งกระเบนของผู้ประกอบการค้าส่งในจังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Mrketing opportunity for decision to purchse pepper products produced by frm women group t kung krben gulf of wholeslers in chntburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปัญญณัฐ ศิลาลาย
ศิริชัย นามวิเศษ
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: พริกไทย -- ไทย -- จันทบุรี
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโอกาสทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์พริกไทยที่ผลิตโดยกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอ่าวคุ้งกระเบนของผู้ประกอบการค้าส่งในจังหวัดจันทบุรี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัย โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการค้าส่งในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 10 ราย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประกอบกิจการค้าส่ง/ค้าปลีก รองลงมาคือ ค้าส่ง/ค้าปลีก/ขายของฝาก และค้าส่ง/ค้าปลีก/ขายยาผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจซื้อ 5 ด้าน 1) ด้านการตระหนักถึงปัญหา พบว่า ผู้ประกอบการค้าส่งส่วนใหญ่ให้ผู้ขายเป็นฝ่ายดำเนินการเองทั้งการตรวจสอบจำนวนพริกไทยคงเหลือและการนำพริกไทยมาขายหรือเพิ่มเติมในร้านค้าเอง รองลงมา ผู้ประกอบการค้าส่งดำเนินการตรวจสอบปริมาณพริกไทยพร้อมทั้งติดต่อผู้ขายเอง 2) ด้านการค้นหาข้อมูล พบว่า ผู้ขายเป็นผู้ที่ให้ข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ทางด้านผลิตภัณฑ์และกำหนดราคา รองลงมาคือผู้ประกอบการค้าส่งให้ข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ทางด้านผลิตภัณฑ์และกำหนดราคา ผู้ขายเป็นผู้ที่ให้ข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ทางด้านผลิตภัณฑ์ส่วนผู้ประกอบการค้าส่งจะเป็นผู้กำหนดราคา และผู้ประกอบการค้าส่งให้ข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ทางด้านผลิตภัณฑ์ส่วนผู้ขายจะเป็นผู้กำหนดราคา 3) ด้านการประเมินทางเลือก พบว่า ส่วนใหญ่ใช้ความคุ้นเคยกับผู้ขายซึ่งทั้งหมดมีการซื้อขายกันมาเป็นระยะเวลานานหลายปี รองลงมาคือ ผู้ประกอบการค้าส่งใช้ส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ขนาดของเม็ดสีและกลิ่น ผู้ประกอบการค้าส่งใช้ปริมาณการขายออกของพริกไทยและผู้ประกอบการค้า ส่งใช้ส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และราคา 4) ด้านการตัดสินใจซื้อ พบว่า ผู้ประกอบการค้าส่งส่วนใหญ่ใช้วิธีการฝากวางขาย รองลงมาใช้วิธีตกลงราคาซื้อขายกับผู้ขาย5) ด้านพฤติกรรมหลังการซื้อ พบว่า ผู้ประกอบการค้าส่งส่วนใหญ่จะพิจารณาปริมาณที่ขายได้ในการกลับไปซื้อซ้ำรองลงมาคือจะพิจารณาส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ เรื่องคุณภาพของพริกไทยขนาดของเม็ดสีและกลิ่น ในการกลับไปซื้อซ้ำ
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6155
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57710145.pdf2.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น