กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6155
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorปัญญณัฐ ศิลาลาย
dc.contributor.authorศิริชัย นามวิเศษ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T02:27:40Z
dc.date.available2023-05-12T02:27:40Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6155
dc.descriptionงานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโอกาสทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์พริกไทยที่ผลิตโดยกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอ่าวคุ้งกระเบนของผู้ประกอบการค้าส่งในจังหวัดจันทบุรี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัย โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการค้าส่งในจังหวัดจันทบุรี จำนวน 10 ราย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประกอบกิจการค้าส่ง/ค้าปลีก รองลงมาคือ ค้าส่ง/ค้าปลีก/ขายของฝาก และค้าส่ง/ค้าปลีก/ขายยาผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจซื้อ 5 ด้าน 1) ด้านการตระหนักถึงปัญหา พบว่า ผู้ประกอบการค้าส่งส่วนใหญ่ให้ผู้ขายเป็นฝ่ายดำเนินการเองทั้งการตรวจสอบจำนวนพริกไทยคงเหลือและการนำพริกไทยมาขายหรือเพิ่มเติมในร้านค้าเอง รองลงมา ผู้ประกอบการค้าส่งดำเนินการตรวจสอบปริมาณพริกไทยพร้อมทั้งติดต่อผู้ขายเอง 2) ด้านการค้นหาข้อมูล พบว่า ผู้ขายเป็นผู้ที่ให้ข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ทางด้านผลิตภัณฑ์และกำหนดราคา รองลงมาคือผู้ประกอบการค้าส่งให้ข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ทางด้านผลิตภัณฑ์และกำหนดราคา ผู้ขายเป็นผู้ที่ให้ข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ทางด้านผลิตภัณฑ์ส่วนผู้ประกอบการค้าส่งจะเป็นผู้กำหนดราคา และผู้ประกอบการค้าส่งให้ข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ ทางด้านผลิตภัณฑ์ส่วนผู้ขายจะเป็นผู้กำหนดราคา 3) ด้านการประเมินทางเลือก พบว่า ส่วนใหญ่ใช้ความคุ้นเคยกับผู้ขายซึ่งทั้งหมดมีการซื้อขายกันมาเป็นระยะเวลานานหลายปี รองลงมาคือ ผู้ประกอบการค้าส่งใช้ส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ขนาดของเม็ดสีและกลิ่น ผู้ประกอบการค้าส่งใช้ปริมาณการขายออกของพริกไทยและผู้ประกอบการค้า ส่งใช้ส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และราคา 4) ด้านการตัดสินใจซื้อ พบว่า ผู้ประกอบการค้าส่งส่วนใหญ่ใช้วิธีการฝากวางขาย รองลงมาใช้วิธีตกลงราคาซื้อขายกับผู้ขาย5) ด้านพฤติกรรมหลังการซื้อ พบว่า ผู้ประกอบการค้าส่งส่วนใหญ่จะพิจารณาปริมาณที่ขายได้ในการกลับไปซื้อซ้ำรองลงมาคือจะพิจารณาส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ เรื่องคุณภาพของพริกไทยขนาดของเม็ดสีและกลิ่น ในการกลับไปซื้อซ้ำ
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectพริกไทย -- ไทย -- จันทบุรี
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร
dc.titleโอกาสทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์พริกไทยที่ผลิตโดยกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรอ่าวคุ้งกระเบนของผู้ประกอบการค้าส่งในจังหวัดจันทบุรี
dc.title.alternativeMrketing opportunity for decision to purchse pepper products produced by frm women group t kung krben gulf of wholeslers in chntburi province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe present study aims to examine the marketing opportunity for decision to purchase pepper products produced by Farm Women Group at Kung Kraben Gulf of wholesalers in Chantaburi Province. It was a qualitative research which employed in-depth interview questions as the instrument. Sample group was 10 wholesalers in Chantaburi Province. The findings showed that most participants were retailers and wholesalers. Some of them did retailing/ wholesaling/ souvenir shops and the rest did wholesaling/ retailing/drug stores. The findings on 5 aspects of decision process revealed that 1) awareness of problems: most participants managed stocks on their own. Some of them checked their stocks and contact retailers on their own. 2) Information searching: retailers gave information about products and pricing. Sometimes the wholesalers gave information about products and pricing. Others reported that the retailers gave the information about the products and the wholesalers did pricing. Few of them had wholesalers giving the information about the products and retailers did pricing. 3) Evaluation behavior: most participants knew the retailers well because they had dealt with each other for years. Some of them employed marketing mix, i.e. product (size, color, and scent). The wholesalers paid attention to sales and they used marketing mix (product and price). 4) Decision to purchase: most wholesalers had consignment and some of them had an agreement on prices with the retailers. 5) After sales behavior: most wholesalers concerned the sales before they repurchase the products. Some of them paid attention to marketing mix (product), i.e. quality, size, color, and scent, when they want to repurchase.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57710145.pdf2.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น