กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6148
ชื่อเรื่อง: | แนวทางในการพัฒนากระบวนการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศสิงคโปร์ : กรณีศึกษา บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The pproch for the improvement of ordering process of products from singpore: cse study of thioil public compny limited |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์ ชิดชนก รักทองสุข มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | สินค้า -- การจัดซื้อ มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก การจัดซื้อ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศสิงคโปร์ของบริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน) ในปัจจุบัน เพื่อหาสาเหตุของปัญหาในกระบวนการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศสิงคโปร์ของบริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน) และเพื่อนําเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาในการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศสิงคโปร์ของบริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากผู้บริหารฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างทุกระดับ พนักงานฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างทั้งเพศหญิงและชายของบริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน) จํานวน 15คน และซัพพลายเออร์จากประเทศสิงคโปร์ จํานวน 2 คน โดยการจัดกลุ่มข้อมูลและพิจารณาประเด็นที่สําคัญตีความหมายพร้อมทั้งดึงข้อความหรือ ประโยชน์ที่สําคัญจากการวิจัยพบว่า กระบวนการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศสิงคโปร์ ของบริษัท ไทยออยล์ จํากีด (มหาชน) ยังพบปัญหา ดังนี้ 1) ปัญหาในเรื่องของเนื้อหาของข้อกำหนดในเนื้อหาสัญญา (Condition of contract) 2) ปัญหาในเรื่องการจัดส่งสินค้าที่ไม่ตรงตามความต้องการ 3) ปัญหาในการตรวจความถูกต้องก่อนส่ง 4) ปัญหา เรื่อง Payment term 5) ปัญหาราคาสินค้าราคาสูง และบริษัทผู้ผลิตส่วนมากขายผ่าน Trader ที่ประเทศสิงคโปร์ ทําให้อํานาจการต่อรองตํ่า 6) ปัญหาทางด้านการประเมินภาษีไม่ครบถ้วน ซึ่งปัญหาที่จะก่อให้เกิดผลกระทบกับบริษัทมากที่สุด คือ ปัญหาด้าน Delivery performance ของ Supplier ซึ่งจะแก้ไขได้ต้องวิเคราะห์ว่าผู้ผลิตหลักอยู่ที่ไหน มีการขนส่งจัดส่งสินค้าเป็นอย่างไร แล้วมาวิเคราะห์ความเสี่ยง คํานึงถึงข้อจํากัดเรื่องการขนส่ง กำลังการผลิตของผู้ผลิตว่ามีเพียงพอหรือไม่ หรือต้องทําสัญญาระหว่างกันเพื่อลดความเสี่ยงส่วนปัญหาที่ไม่ค่อยส่งผลกระทบกับบริษัทมากนักแต่เจอบ่อย ๆ คือ ปัญหาเรื่องการเดินพิธีการทางศุลกากรเพื่อนําเข้า/ ส่งออกสินค้า หรือเครื่องจักรตามเงื่อนไขสัญญาการจัดจ้างบางสัญญาที่ต้องดําเนินการผ่านบุคคลที่ 3 ในประเทศไทย เนื่องจากมีกฎระเบียบและข้อบังคับค่อนข้างเยอะและแยกย่อยในสินค้าแต่ละประเภท มีวิธีการแก้ไขคือ จัดทํา Check list และแผนงาน รวมถึงเอกสารรับรองความถูกต้องในขั้นตอนที่สําคัญในการสั่งซื้อรวมถึงตรวจสอบให้ครอบคลุมกับรายละเอียดของสินค้านั้น และมีการทวนสอบทุกขั้นตอนก่อนส่งสินค้าขึ้นเรือ เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด |
รายละเอียด: | งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6148 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
57710172.pdf | 3.4 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น