กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4589
ชื่อเรื่อง: | อิทธิพลของสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะยูโทรฟิเคช่ันในบริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of dissolved inorganic nutrients on Eutrophication situations of Trat bay, Trat province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภัทราวุธ ไทยพิชิตบูรพา จารุมาศ เมฆสัมพันธ์ |
คำสำคัญ: | คุณภาพน้ำ -- ไทย -- ตราด ยูโทรฟิเคชัน สารประกอบอนินทรีย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของสารอาหารอนินทรีย์ละลายน้ำต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะ ยูโทรฟิเคชั่นในบริเวณอ่าวตราด โดยแบ่ง การศึกษาออกเป็น 2 ฤดูกาลได้แก่ ฤดูแล้ง (เดือนมีนาคม) และฤดูฝน (เดือนกรกฎาคม) ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลในพื้นที่อ่าวตราดทั้งสิ้น 15 สถานี ประกอบด้วยปัจจัยคุณภาพน้ำทั่วไป (อุณหภูมิ ความเค็ม และออกซิเจนละลายน้ำ) คลอโรฟิลล์-เอ แอมโมเนียม ไนไตรท์ ไนเตรท ซิลิเกต และ ออโธฟอสเฟต ผลการศึกษาพบว่าฤดูกาลมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะยูโทรฟิเคชั่นในพื้นที่อ่าวตราด ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของ สารอนินทรีย์ละลายน้ำในกลุ่มของไนโตรเจน และฟอสฟอรัส โดยพบว่าในช่วงฤดูฝนสารอนินทรีย์ไนโตรเจนมีค่าสูงมากเกินระดับ ยูโทรฟิเคชั่น ซึ่งทำให้ปริมาณคลอโรฟิลล์-เอ สูงตามด้วยจนทำให้เข้าสู่สภาวะ Hypertrophic (สูงกว่า eutrophic 5 เท่า) นอกจากนี้ยังพบว่า ฟอสฟอรัสจะเป็นปัจจัยจำกัดการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืชในช่วงฤดูฝน โดยมีสัดส่วน redfield ratio (N:P) เท่ากับ 45.7 ทั้งนี้หากมีการเพิ่มฟอสฟอรัสลงในอ่าวผ่านทางกิจกรรมการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ บนแผ่นดินในช่วงเวลาดังกล่าว ก็จะส่งผลให้อ่าวตราดเข้าสู่สภาวะการเสื่อมโทรมของแหล่งน้ำจากการสะพรั่งของแพลงก์ตอนพืชในอนาคตได้ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4589 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
sci26n2p770-782.pdf | 710.78 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น