กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3783
ชื่อเรื่อง: | การรูปแบบของการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว เพื่อรองรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Models of Long stay Tourism at Thailand for the Japanese Elderly |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปานเสก อาทรธุระสุข เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ กาญจนา บุญยัง โชเฮ โอกะวะ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ โรงเรียนสาธิตพิบูลบำเพ็ญ |
คำสำคัญ: | การท่องเที่ยว สาขาเศรษฐศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวเพื่อรองรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น ซึ่งใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานเพื่อศึกษาคุณลักษณะและความต้องการ จัดกลุ่มชาวญี่ปุ่น และเป็นข้อมูลประกอบการเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว ในประเทศไทยเพื่อรองรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ชาวญี่ปุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป ที่มีแนวโน้มจะเข้ามาพำนักระยะยาวในประเทศไทย กลุ่มที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในพื้นที่จังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง และชาวญี่ปุ่นที่อาศัย ในประเทศญี่ปุ่น จำนวน 151 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ชาวญี่ปุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป ที่มีแนวโน้มจะเข้ามาพำนักระยะยาวในประเทศไทย ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพำนักระยะยาวในประเทศไทย เช่น คู่สมรสของผู้สูงอายุ ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ จำนวน 14 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แบบอิงข้อมูล โดยการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มข้อมูลเพื่อนำมาค้นหารูปแบบความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบอย่างต่อเนื่อง (constant comparison) ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยผลักดันสำคัญสำหรับการจัดการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว ในประเทศไทยมี คือ นโยบายรัฐบาลของรัฐบาลญี่ปุ่น และปัจจัยดึงดูด คือ อากาศและสภาพแวดล้อมของไทย และค่าครองชีพโดยงานชิ้นนี้ขอเสนอ “รูปแบบการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวเพื่อรองรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นแบบ สบาย ๆ (Kaiteki Style) ณ ศรีราชา: เมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ” รูปแบบดังกล่าวมีลักษณะ คือ (1) ความสบายกาย: ที่พักอาศัยมีสิ่งอำนวยความสะดวก ปลอดภัย และสงบ มีอาหารที่มีคุณภาพ สภาพแวดล้อมทางกายภาพมีความปลอดภัย มีความสะดวกในการเดินทาง และมีบริการสุขภาพที่มีมาตรฐาน (2) ความสบายใจ: สร้างความรู้สึกให้เสมือนอยู่ในประเทศญี่ปุ่น (ที่พักอาศัย อาหาร สถานที่ทำกิจกรรม/พบปะระหว่างกัน) มีผู้ดูแล/ผู้ให้บริการที่สื่อสารภาษาญี่ปุ่นได้ บริการสุขภาพได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันสุขภาพ และมีบริการและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเข้าถึงข้อมูลโดยใช้ภาษาญี่ปุ่น ทั้งนี้ต้องอยู่บนเงื่อนไขจำเป็น คือ การสร้างลักษณะทางกายภาพที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ พื้นที่สาธารณะมีมาตรฐาน ปลอดภัย อำนวยความสะดวก การพัฒนาระบบการตรวจลงตราให้มีมาตรฐาน และการพัฒนาบุคลากรทั้งภาคเอกชนและภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3783 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_278.pdf | 4.82 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น