กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3783
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ปานเสก อาทรธุระสุข | |
dc.contributor.author | เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ | |
dc.contributor.author | กาญจนา บุญยัง | |
dc.contributor.author | โชเฮ โอกะวะ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ | |
dc.contributor.other | วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ | |
dc.contributor.other | โรงเรียนสาธิตพิบูลบำเพ็ญ | |
dc.date.accessioned | 2020-02-21T07:46:00Z | |
dc.date.available | 2020-02-21T07:46:00Z | |
dc.date.issued | 2562 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3783 | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวเพื่อรองรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น ซึ่งใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานเพื่อศึกษาคุณลักษณะและความต้องการ จัดกลุ่มชาวญี่ปุ่น และเป็นข้อมูลประกอบการเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว ในประเทศไทยเพื่อรองรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่น การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ชาวญี่ปุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป ที่มีแนวโน้มจะเข้ามาพำนักระยะยาวในประเทศไทย กลุ่มที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในพื้นที่จังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง และชาวญี่ปุ่นที่อาศัย ในประเทศญี่ปุ่น จำนวน 151 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ชาวญี่ปุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป ที่มีแนวโน้มจะเข้ามาพำนักระยะยาวในประเทศไทย ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพำนักระยะยาวในประเทศไทย เช่น คู่สมรสของผู้สูงอายุ ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ จำนวน 14 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาด้วยเทคนิคการวิเคราะห์แบบอิงข้อมูล โดยการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มข้อมูลเพื่อนำมาค้นหารูปแบบความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบอย่างต่อเนื่อง (constant comparison) ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยผลักดันสำคัญสำหรับการจัดการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว ในประเทศไทยมี คือ นโยบายรัฐบาลของรัฐบาลญี่ปุ่น และปัจจัยดึงดูด คือ อากาศและสภาพแวดล้อมของไทย และค่าครองชีพโดยงานชิ้นนี้ขอเสนอ “รูปแบบการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวเพื่อรองรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นแบบ สบาย ๆ (Kaiteki Style) ณ ศรีราชา: เมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ” รูปแบบดังกล่าวมีลักษณะ คือ (1) ความสบายกาย: ที่พักอาศัยมีสิ่งอำนวยความสะดวก ปลอดภัย และสงบ มีอาหารที่มีคุณภาพ สภาพแวดล้อมทางกายภาพมีความปลอดภัย มีความสะดวกในการเดินทาง และมีบริการสุขภาพที่มีมาตรฐาน (2) ความสบายใจ: สร้างความรู้สึกให้เสมือนอยู่ในประเทศญี่ปุ่น (ที่พักอาศัย อาหาร สถานที่ทำกิจกรรม/พบปะระหว่างกัน) มีผู้ดูแล/ผู้ให้บริการที่สื่อสารภาษาญี่ปุ่นได้ บริการสุขภาพได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันสุขภาพ และมีบริการและเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเข้าถึงข้อมูลโดยใช้ภาษาญี่ปุ่น ทั้งนี้ต้องอยู่บนเงื่อนไขจำเป็น คือ การสร้างลักษณะทางกายภาพที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ พื้นที่สาธารณะมีมาตรฐาน ปลอดภัย อำนวยความสะดวก การพัฒนาระบบการตรวจลงตราให้มีมาตรฐาน และการพัฒนาบุคลากรทั้งภาคเอกชนและภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว | th_TH |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การท่องเที่ยว | th_TH |
dc.subject | สาขาเศรษฐศาสตร์ | th_TH |
dc.title | การรูปแบบของการท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว เพื่อรองรับผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นในประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Models of Long stay Tourism at Thailand for the Japanese Elderly | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | tienkaew@buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | pansekying@hotmail.com | th_TH |
dc.author.email | kanjana_b@buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | s.o.shohei@gmail.com | th_TH |
dc.year | 2562 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The main objectives of this study were to investigate long stay tourism for Japan’s elderly by using the mixed method research to study the characteristics and the requirements of Japan’s elderly, to cluster Japan’s elderly, and to propose a specific type of long stay tourism for Japan’s elderly. The sample for the quantitative research was a group of Japanese people at age 50 and above, who had the potential to stay in Thailand for a long period of time, including those staying in Chonburi Province, Rayong Province and Japan. The sample size was 151. The interviewees for the qualitative research were Japanese people at age 50 and above, who had the potential to stay in Thailand long term as well as those who were involved in long stay tourism in Thailand e.g. spouses of the Japan’s elderly and healthcare providers. The total number of interviewees was 14. The qualitative analysis applied the constant comparative method to derive the relationship between the data groups. It was found that the key factor promoting long stay tourism in Thailand was the policy of the Japanese government and the attracting factors were the weather, the environment and the cost of living of Thailand. This study proposes a “relaxing (Kaiteki style) long stay tourism for Japan’s elderly in Sriracha: an elderly friendly city”, which has the following characteristics: (1) convenience: it offers well equipped accommodation in a safe and calm environment, high quality food, safe physical environment, and convenience in transportation; and (2) comfortableness: it gives the feeling of staying in Japan (accommodation, food, places of activities and meetings); it has caregivers/providers who can communicate in Japanese; healthcare services are covered by the health insurance system and there are services and technology that facilitate the access of information in Japanese language. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_278.pdf | 4.82 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น