กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3620
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | มารุต ตั้งวัฒนาชุลีพร | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-07-14T09:42:28Z | |
dc.date.available | 2019-07-14T09:42:28Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3620 | |
dc.description.abstract | มังคุดและเงาะเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกในปี พ.ศ. 2558 รวมกันสูงหลายพันล้านบาท โดยแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญอยู่ในจังหวัดทางภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตของมังคุดและเงาะลดลงและส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ของเกษตรกร คือ ปัญหาด้านโรคพืชที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา Pestalotiopsis sp. โดยเชื้อราชนิดนี้ก่อให้เกิดโรคใบไหม้ในต้นมังคุด การควบคุมโรคที่เกิดจากเชื้อราชนิดนี้ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด คือการฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดเชื้อรา โดยเกษตรกรส่วนใหญ่มักใช้ฉีดพ่นเป็นประจำ ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้สิ้นเปลืองทั้งกำลังแรงงานและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว สารเคมีที่ตกค้างยังก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสุขภาพของผู้บริโภค รวมถึงข้อกำหนดกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย การควบคุมโรคพืชโดยชีววิธี (biological control) ด้วยการใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่คัดเลือกจากธรรมชาติมายับยั้งเชื้อก่อโรคในพืช จัดเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ในงานวิจัยนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์ในกลุ่ม Actinomycetes จากดินในสวนมังคุดที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Pestalotiopsis sp. ผลการทดลองด้วยวิธี Dual Culture Technique พบว่า เชื้อ Actinomycetes จำนวน 18 ไอโซเลท ได้แก่ Act-75, 76, 81, 85, 90, 106, 116, 118, 119, 120, 129, 131, 133, 134, 135, 139, 143 และ Act-150 สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา Pestalotiopsis sp. ได้ และเมื่อทำการสุ่มเลือกเชื้อ 3 ไอโซเลท จากทั้งหมด 18 ไอโซเลท เพื่อนำมาทำการหาลำดับเบสของ DNA ของ 16s rRNA สำหรับการระบุชนิดของเชื้อ Actinomycetes พบว่าเชื้อรหัส Act-116, Act-118 และ Act-120 คือเชื้อ Streptomyces parvus, Streptomyces silaceus และ Streptomyces purpurascens ตามลำดับซึ่งผลจากการวิจัยครั้งนี้อาจจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้จริงในสวนผลไม้ได้ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการทดลองเพิ่มเติม โดยผู้วิจัยมีแผนจะนำเชื้อทั้ง 18 ไอโซเลทนี้ ไปใช้เพื่อเป็นส่วนประกอบของปุ๋ยชีวภาพเม็ดและทำการศึกษาทดลองในโรงเรือนจริงต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สนับสนุนโดยสำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | โรคเชื้อรา | th_TH |
dc.subject | เชื้อกลุ่มแอคติโนมัยซีทส์ | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช | th_TH |
dc.subject | มังคุด | th_TH |
dc.title | การคัดเลือกเชื้อกลุ่มแอคติโนมัยซีทส์จากดินในจังหวัดจันทบุรีและ ตราดเพื่อการยับยั้งโรคเชื้อราที่เกิดจาก Pestalotiopsis sp. ในมังคุดและเงาะ | th_TH |
dc.title.alternative | Screening of Actinomycetes from soli in Chanta Buri and Trat for inhibition of fungal diseases caused by Pestalotiopsis sp. in Mangosteen and Rambutan | th_TH |
dc.type | Research | en |
dc.year | 2561 | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2563_110.pdf | 4 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น