กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3253
ชื่อเรื่อง: | การประกวดนางงามกับระบบชายเป็นใหญ่ในพื้นที่สาธารณะ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Beauty pageant and public patriarchy |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | รุังนภา ยรรยงเกษมสุข สุมิต อินทวงศ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การประกวดความงาม นางงาม ระบบชายเป็นใหญ่ สตรี สาขาสังคมวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
บทคัดย่อ: | การประกวดนางงามเป็นพื้นที่ที่สะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างสังคมที่ได้เปิดโอกาสให้ผู้หญิง และการมีบทบาทในพื้นที่สาธารณะอันจะนำไปสู่การยอมรับและยกย่องในคุณสมบัติรวมทั้งความรู้ และความสามารถ แต่ด้วยสังคมที่ยังห่อหุ้มด้วยระบบชายเป็นใหญ่ ผู้หญิงจึงรู้สึกยินดีกับการมีพื้นที่ ๆ เปิดกว้างในสาธารณะ ซึ่งเป็นการหลอกว่ามีความเท่าเทียมกันกับผู้ชาย เพราะแท้ที่จริงแล้วระบบชายเป็นใหญ่ยังคงดำรงอยู่ เพียงแต่โครงสร้างในการสร้างความชอบธรรมได้เปลี่ยนแปลงไป แต่เดิมโครงสร้างที่สนับสนุนระบบชายเป็นใหญ่จำกัดผู้หญิงให้อยู่แต่ในบ้าน โครงสร้างใหม่ในศตวรรษที่ 20 ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม วัฒนธรรมการบริโภค รวมทั้งการสื่อสาร ได้เปิดโอกาสให้ผู้หญิงออกมานอกบ้าน และทำงานนอกบ้านได้ แต่โครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงไปยังคงได้จำกัดผู้หญิงให้ด้อยกว่าผ่านการจ้างงาน การจัดแบ่ง และกลุ่มที่กดขี่ ก็กลายเป็นกลุ่มคนและระบบ ไม่ใช่สามีหรือพ่อในครอบครัวอีกต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3253 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
bpe3n1p83-105.pdf | 1.77 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น