กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/220
ชื่อเรื่อง: กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายของเด็กวัยเรียนในชุมชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Health Promotion Process of Nutrition and Exercise of School-Age Children in Community
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิสากร กรุงไกรเพชร
สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
พัชรินทร์ พูลทวี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: การส่งเสริมสุขภาพ
การออกกำลังกาย
โภชนาการ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายแก่เด็กวัยเรียน บนแนวคิด นโยบายขององค์กรที่เกี่ยวข้อง ทำการศึกษาในหมู่บ้านของจังหวัดภาคตะวันออก 2 หมู่บ้าน การเก็บข้อมูลประกอบด้วย (1) ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อย การประชุม ซึ่งถูกนำมาตรวจสอบความถูกต้องความหลากหลายของข้อมูล และการวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของโคไลซี่ (Colaizzi, 1978) (2) ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม และการประเมิณสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ แล้วนำมาวิเคราะห์หาความถี่และร้อยละ ผลการศึกษาดังนี้ 1. รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนด้านโภชนาการและการออกกำลังกายที่องค์กรชุมชนดำเนินการอยู่นั้น มุ่งเน้น 3 ประเด็น คือ (1) การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอิ้อต่อสุขภาพ (2) การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล เพื่อให้สามารถควบคุมสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของตนเองได้ มีทางเลือกต่อการดูแลสุขภาพของตนเอง และ (3) การเสริมสร้างกิจกรรมให้เข้มแข็ง โดยมีการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ ภารกิจหลักของแต่ละชุมชน 2. กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนด้านโภชนาการและการออกกำลังกาย ประกอบด้วย (1) สวงหาภาคีความร่วมมือและศึกษาภูมิหลัง (2) ออกแบบและวางแผนการดำเนินงาน (3) ดำเนินงาน ปรับปรุงแผน และประเมินผลการดำเนินงาน (4) สะท้อนข้อมูลย้อนกลับ ส่งต่อเพื่อขยายผลต่อชุมชน 3. กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนด้านโภชนาการและการออกกำลังกายจะสำเร็จลงได้ต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญคือ การวิเคราะห์สถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายของเด็กวัยเรียนที่มีอยู่ในชุมชน การมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้อง และมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการกำหนดนโยบายเพื่อสุขภาพเด็กวัยเรียนทุกภาคส่วน การเปิดกาสให้เด็กวัยเรียนมีโอกาสจัดการสุขภาวะของตนเอง และการสะท้อนกลับข้อมูลการดำเนินงาน อย่างไรก็ดี สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้กระบวนการสร้างเสริมสุขภาพดำเนินต่อไปได้ไม่สิ้นสุดนั้น จำเป็นต้องมีแรงขับเคลื่อนจากหลายทิศทางทั้งในและนอกชุมชนเข้ามาร่วมผลักดัน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/220
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_075.pdf120.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น