กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17368
ชื่อเรื่อง: การถอดบทเรียนองค์ความรู้ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ภาคตะวันออก สู่ฐานข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Bringing the Eastern Folk Performing Arts Knowledge Lesson to the Database for Lifelong Learning
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รณชัย รัตนเศรษฐ
พิทักษ์ สูตรอนันต์
พิมลพรรณ เลิศล้ำ
คำสำคัญ: หนังตะลุง
ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน
ศิลปะการแสดง -- ไทย (ภาคใต้)
หนัง (มหรสพ)
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์คือ การจัดทําข้อมูลประวัติพัฒนาการและวิถี ชีวิตชุมชน ประกอบด้วย ด้านประวัติ ด้านสังคมวิถีชีวิตและความเชื่อโยงในชุมชน การจัดทําองค์ความรู้ ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ผลการศึกษาพบว่า ประวัติพัฒนาการและวิถีชีวิตชุมชน ตลาดไผ่ล้อมชุมชนใหญ่ที่นับว่าเป็น ศูนย์กลางของอําเภอไผ่ล้อม (ปัจจุบันคือ อําเภอบ้านค่าย) ลักษณะเป็นที่ราบ มีสายน้ำระยองไหลพาดผ่านใจกลางชุมชน จึงทําให้ชุมชนนี้เป็นย่านการค้าที่สําคัญที่จะรับของป่าและข้าวล่องน้ำไปขายที่เมืองระยอง โดยมีผู้คนอาศัยตั้งแต่สมัยอิทธิพลขอม สมัยอยุธยา จนสมัยรัตนโกสินทร์ มีการพัฒนาเรื่อยมาจนย่านการค้าแห่งนี้จึงได้เกิดอาคารเรียงรายจนถึงปัจจุบัน ทำให้เป็นศูนย์กลางทางการค้า รวมถึงกลุ่มของชาติพันธุ์ และเป็นแหล่งรวมศิลปวัฒนธรรมที่ถูกนำเข้ามาจากผู้ที่เดินทางเข้ามายังพื้นที่ ก่อให้เกิดเป็นการประสมประสานศิลปะพื้นบ้านที่พัฒนาขึ้นจนเกิดเป็นเอกลักษณ์พื้นถิ่น โดยเฉพาะหนังตะลุงของสายวัตใหม่กระบกขึ้นผึ้ง ที่เป็นต้นกำเนิดของหนังตะลุงของจังหวัดระยองที่เป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญ การแสดงหนังตะลุงเข้ามาในจังหวัดของเมื่อราวพ.ศ. 2469 จากครูหนังตะลุงที่เที่ดินทางมาจากปักษ์ใต้ เดินทางมาทำการแสดงหนังตะลุงที่บ้านไผ่ล้อมซึ่งเป็นเขตตัวอำเภอบ้านค่าย และเริ่มตั้งคณะหนังตะลุงที่วัดใหม่กระบกขึ้นผึ้ง จนเป็นต้นแบบการแสดงหนังตะลุงของจังหวัดระยอง"
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/17368
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2568_120.pdf3.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น