กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1383
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในกรมการศึกษานอกโรงเรียน ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of internal quality assurance system for informal education ministry of education Lao PDR. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พงศ์เทพ จิระโร มนตรี แย้มกสิกร ประชา อินัง บุนขง ทุมวงศ์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การประกันคุณภาพการศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบประกันคุณภาพภายในการศึกษานอกโรงเรียนของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในการศึกษานอกโรงเรียน ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อออกแบบและดำเนินการพัฒนาบุคลากรในการดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในการศึกษานอกโรงเรียน ที่คณะผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น และเพื่อประเมินมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินภายในการศึกษานอกโรงเรียน ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สรุปผลวิจัย: ผลการพัฒนาระบบพบว่า ระบบประกันคุณภาพภายในการศึกษานอกโรงเรียน ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีกิจกรรมและกลไกประกอบด้วย 8 ประเด็น คือ การควบคุม คุณภาพ (Quality Control), การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Assessment), การปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement), การบูรณาการ งานประกันคุณภาพลงในแผนปฏิบัติงาน, มีการประกันคุณภาพภายใน (IQA) แต่ละระดับ, การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feed back) และการเขียนรายงานการประเมินเมื่อจบปีการศึกษา (SAR) โดยมีกลุ่มตัวบ่งชี้คุณภาพจำนวน 4 กลุ่มตัวบ่งชี้ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า (7 ตัวบ่งชี้), กระบวนการ (4 ตัวบ่งชี้), ผลงาน (7 ตัวบ่งชี้) และงานประกันคุณภาพ (2 ตัวบ่งชี้) รวมทั้งสิ้นจำนวน 20 ตัวบ่งชี้ ความเหมาะสมของร่างระบบที่ได้จากการประเมินก่อนนำไปทดลองใช้ จำแนกตามกิจกรรมและกลไกของระบบ 8 ประเด็น พบว่ากิจกรรม กลไก และการดำเนินการจำนวน 8 รายการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และพบว่าความเหมาะสมของร่างตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินก่อนนำไปทดลองใช้จำแนกตามรายตัวบ่งชี้ จำนวน 20 ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกตัวบ่งชี้ ผลการประเมินด้านการใช้ประโยชน์ (Utility) ตามความคิดเห็นของผู้ใช้ระบบประเมินหลังนำไปใช้จำแนกตามกิจกรรมและกลไก 8 ประเด็น พบว่า สามารถใช้ประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) (7 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปทดลองใช้ เห็นว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านกระบวนการ (process) (4 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้ พบว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านผลการดำเนินงาน (Product) (7 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้ พบว่า สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก กลุ่มตัวบ่งชี้ด้านการประกันคุณภาพภายในระดับเมือง (2 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้จำแนกตามรายตัวบ่งชี้เห็นว่า สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความเป็นไปได้ (Feasibility) ตามความคิดเห็นของผู้ใช้ระบบประเมินหลังนำไปใช้จำแนกตามกิจกรรมและกลไก 8 ประเด็น พบว่า ความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) (7 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้ พบว่า ความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านกระบวนการ (process) (4 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า มีความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านผลการดำเนินงาน (Product) (7 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า มีความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านการประกันคุณภาพภายในระดับเมือง (2 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า มีความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านความเหมาะสม (Propriety) ตามความคิดเห็นของผู้ใช้ระบบประเมินหลังนำไปใช้จำแนกตามกิจกรรมและกลไก 8 ประเด็น พบว่า ความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) (7 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า ความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านกระบวนการ (process) (4 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ ผลการดำเนินงาน (Product) (7 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านการประกันคุณภาพภายในระดับเมือง (2 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความถูกต้อง (Accuracy) ตามความคิดเห็นของผู้ใช้ระบบประเมินหลังนำไปใช้จำแนกตามกิจกรรมและกลไก 8 ประเด็น พบว่า ความถูกต้องโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) (7 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า ความถูกต้องโดยรวมอยู่ในระดับมาก ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านกระบวนการ (process) (4 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า มีความถูกต้องโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน (Product) (7 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า มีความเห็นด้านความถูกต้องโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในกลุ่มตัวบ่งชี้ด้านการประกันคุณภาพภายในระดับเมือง (2 ตัวบ่งชี้) หลังการนำไปใช้พบว่า มีความความเห็นด้านความถูกต้องโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินความพึงพอใจรูปแบบการจัดการอบรมผู้ประเมินโดยผู้มีส่วนร่วมในการเข้ารับการอบรมผู้ประเมินพบว่า ความพึงพอใจต่อกิจกรรมการฝึกอบรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย : 1. กรมศึกษานอกโรงเรียนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวควรเผยแพร่ให้ความรู้สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ระบบตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติจริง 2. กรมศึกษานอกโรงเรียนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวควรจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อประเมินผลสำหรับการทำความเข้าใจแนวความคิดและหลักการของการประเมินผลและการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับตัวชี้วัดและเกณฑ์ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1383 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2568_039.pdf | 4.26 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น