กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1296
ชื่อเรื่อง: ผลของน้ำมันหอมระเหยจากขิงต่อ Planktonic cells และไบโอฟิล์ม ของ Candida albicans: ผลของลูกอมขิง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of essential oil from Zingiber officinale on planktonic cells and biofilms of Candida albicans: Ginger Lozenges
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรรนิภา ศิริเพิ่มพูล
จุฑาภรณ์ ศิริเพิ่มพูล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ขิง
น้ำมันหอมระเหย
ไบโอฟิล์ม
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของลูกอมขิงต่อ Planktonic cell และไบโอฟิล์ม ของเชื้อ Candida albicans ที่แยกได้จากผู้ป่วยจำนวน 12 isolates และเชื้อสายพันธุ์มาตรฐาน C albicans ATCC 90028 โดยทดสอบหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารละลายลูกอมขิงที่สามารถยับยั้งเชื้อและที่ฆ่าเชื้อได้ (Minimum Inhibitory Concentration, MIC; Minimum Fungicidal Concentration, MFC) โดยวิธี Microbroth dilution assay และหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารที่สามารถทำลายไบโอฟิล์มของเชื้อ (Minimum biofilms eradication concentration; MBEC) โดยการย้อมสี Crystal violet ผลการศึกษาพบว่า สารละลายลูกอมขิงสามารถยับยั้งการเจริญของ Planktonic cell ได้โดยมีค่า MIC และ MFC เท่ากับ 1.2-2.4% และเท่ากับหรือมากกว่า 4.8% (ปริมาตร/ปริมาตร) ตามลำดับสารละลายลูกอมขิงความเข้มข้นในช่วง 0.3-1.2% (ปริมาตร/ปริมาตร) สามารถกำจัดคราบไบโอฟิล์มของเชื้อให้ลดลงได้ 48%-53%
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1296
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น