กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12781
ชื่อเรื่อง: การผสมผสานระหว่างการออกแบบบรรจุภัณฑ์ร่วมสมัยกับภาพวาดชาวนาหู้เสี้ยน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The combination of contemporary packaging design and hu xian farmer paintings
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มนัส แก้วบูชา
บุญชู บุญลิขิตศิริ
Yan, Liu.
เยียน, หลิว
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: บรรจุภัณฑ์ -- จีน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
บรรจุภัณฑ์ -- การออกแบบ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพวาดชาวนาหู้เสี้ยน เทคนิคการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ร่วมสมัยและการนําภาพวาดชาวนาหู้เสี้ยนมาผสมผสานเทคนิคทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้วยการออกแบบภาพวาดดิจิตอล ซึ่งนอกจากจะสามารถต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้อยู่บนวิถีแห่งการสร้างสรรค์และสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของคนในชุมชนได้แล้ว บรรจุภัณฑ์ยังถือเป็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ช่วยผลักดันให้เกิดการเรียนรู้และดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกให้เข้ามาสัมผัสกับสีสันทางวัฒนธรรมและค้นพบรสชาติทางสุนทรียศาสตร์ใหม่ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านให้แก่คนรุ่นหลังได้รับรู้และเข้าใจวิถีชีวิตของชาวนาหู้เสี้ยนสืบไป ผลการศึกษาพบว่า ในปี ค.ศ. 1988 กระทรวงวัฒนธรรมจีนได้เสนอชื่ออําเภอหู้เสี้ยน เมืองซีอาน มณฑลส่านซี สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็น “หมู่บ้านภาพวาดชาวนาร่วมสมัย” และในปี ค.ศ. 2008 กระทรวงวัฒนธรรมจีนได้เสนอชื่ออีกครั้งในฐานะ “หมู่บ้านภาพวาดศิลปะพื้นบ้านชาวนาแห่งชนชาติจีน” ทําให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เองเรียกอําเภอแห่งนี้ว่า “หมู่บ้านภาพวาด” จากการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบริบทผลิตภัณฑ์ของฝากที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของอําเภอหู้เสี้ยน พบว่า มีผลิตภัณฑ์ 3 ชนิด ได้แก่ เหล้าหลงวอ ไวน์องุ่น และเส้นก๊วยเตี๋ยว ซึ่งในผลิตภัณฑ์ทั้งสามนี้มีเพียงเหล้าหลงวอที่ยังคงมีบรรจุภัณฑ์ล้าสมัยและไม่เหมาะสมกับบริบทท้องถิ่น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เดินทางไปศึกษาเรียนรู้ข้อมูลที่โรงงานเหล้าหลงวอและได้นําขั้นตอนการหมักเหล้าแบบโบราณซึ่งถือเป็นกรรมวิธีการหมักเหล้าที่เป็นเอกลักษณ์ของเหล้าหลงวอมาใช้เป็นแรงบันดาลใจในการวาดภาพชาวนาด้วยเทคนิค ภาพวาดดิจิตอล โดยใช้สีสันและรูปแบบการวาดภาพมาจากความรู้ความเข้าใจที่ผู้วิจัยมีต่อภาพวาดชาวนาเป็นหลักแต่ยังคงรักษามนต์เสน่ห์แบบชนบทด้วยการเสนอองค์ประกอบทางวัฒนธรรมท้องถิ่นกับภาพวาดชาวนาบนบรรจุภัณฑ์ของเหล้าหลงวอให้เด่นชัด ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ครั้งนี้ ผู้วิจัยได้หลีกเลี่ยงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สิ้นเปลืองและคํานึงถึงหลักการนํามาใช้ซ้ำด้วย นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้ ดําเนินการสํารวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและตลาดผู้บริโภคด้วยแบบสอบถามที่ครอบคลุมเพื่อให้ได้บรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความงาม รสนิยมและตอบสนองต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคได้มากที่สุด จากอําเภอหู้เสี้ยนที่ประชาชนทั่วไปไม่รู้จัก แม้กระทั่งคนในเมืองซีอานเองยังไม่คุ้นเคยได้กลับมาคึกคัก และสร้างความน่าสนใจให้กับผู้บริโภคได้อีกครั้งเพราะผู้บริโภคจํานวนมากได้รู้จักภาพวาดชาวนาและวัฒนธรรมการผลิตเหล้าหมักแบบโบราณมาจากบรรจุภัณฑ์เหล้าหลงวอคือผลตอบแทนและความสําเร็จที่ยิ่งใหญ่ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในครั้งนี้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12781
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf122.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น