กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12781
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorมนัส แก้วบูชา
dc.contributor.advisorบุญชู บุญลิขิตศิริ
dc.contributor.advisorYan, Liu.
dc.contributor.authorเยียน, หลิว
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2024-02-05T06:44:19Z
dc.date.available2024-02-05T06:44:19Z
dc.date.issued2559
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12781
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพวาดชาวนาหู้เสี้ยน เทคนิคการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ร่วมสมัยและการนําภาพวาดชาวนาหู้เสี้ยนมาผสมผสานเทคนิคทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้วยการออกแบบภาพวาดดิจิตอล ซึ่งนอกจากจะสามารถต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้อยู่บนวิถีแห่งการสร้างสรรค์และสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของคนในชุมชนได้แล้ว บรรจุภัณฑ์ยังถือเป็นสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ช่วยผลักดันให้เกิดการเรียนรู้และดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกให้เข้ามาสัมผัสกับสีสันทางวัฒนธรรมและค้นพบรสชาติทางสุนทรียศาสตร์ใหม่ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านให้แก่คนรุ่นหลังได้รับรู้และเข้าใจวิถีชีวิตของชาวนาหู้เสี้ยนสืบไป ผลการศึกษาพบว่า ในปี ค.ศ. 1988 กระทรวงวัฒนธรรมจีนได้เสนอชื่ออําเภอหู้เสี้ยน เมืองซีอาน มณฑลส่านซี สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็น “หมู่บ้านภาพวาดชาวนาร่วมสมัย” และในปี ค.ศ. 2008 กระทรวงวัฒนธรรมจีนได้เสนอชื่ออีกครั้งในฐานะ “หมู่บ้านภาพวาดศิลปะพื้นบ้านชาวนาแห่งชนชาติจีน” ทําให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เองเรียกอําเภอแห่งนี้ว่า “หมู่บ้านภาพวาด” จากการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบริบทผลิตภัณฑ์ของฝากที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของอําเภอหู้เสี้ยน พบว่า มีผลิตภัณฑ์ 3 ชนิด ได้แก่ เหล้าหลงวอ ไวน์องุ่น และเส้นก๊วยเตี๋ยว ซึ่งในผลิตภัณฑ์ทั้งสามนี้มีเพียงเหล้าหลงวอที่ยังคงมีบรรจุภัณฑ์ล้าสมัยและไม่เหมาะสมกับบริบทท้องถิ่น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เดินทางไปศึกษาเรียนรู้ข้อมูลที่โรงงานเหล้าหลงวอและได้นําขั้นตอนการหมักเหล้าแบบโบราณซึ่งถือเป็นกรรมวิธีการหมักเหล้าที่เป็นเอกลักษณ์ของเหล้าหลงวอมาใช้เป็นแรงบันดาลใจในการวาดภาพชาวนาด้วยเทคนิค ภาพวาดดิจิตอล โดยใช้สีสันและรูปแบบการวาดภาพมาจากความรู้ความเข้าใจที่ผู้วิจัยมีต่อภาพวาดชาวนาเป็นหลักแต่ยังคงรักษามนต์เสน่ห์แบบชนบทด้วยการเสนอองค์ประกอบทางวัฒนธรรมท้องถิ่นกับภาพวาดชาวนาบนบรรจุภัณฑ์ของเหล้าหลงวอให้เด่นชัด ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ครั้งนี้ ผู้วิจัยได้หลีกเลี่ยงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สิ้นเปลืองและคํานึงถึงหลักการนํามาใช้ซ้ำด้วย นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้ ดําเนินการสํารวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและตลาดผู้บริโภคด้วยแบบสอบถามที่ครอบคลุมเพื่อให้ได้บรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความงาม รสนิยมและตอบสนองต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคได้มากที่สุด จากอําเภอหู้เสี้ยนที่ประชาชนทั่วไปไม่รู้จัก แม้กระทั่งคนในเมืองซีอานเองยังไม่คุ้นเคยได้กลับมาคึกคัก และสร้างความน่าสนใจให้กับผู้บริโภคได้อีกครั้งเพราะผู้บริโภคจํานวนมากได้รู้จักภาพวาดชาวนาและวัฒนธรรมการผลิตเหล้าหมักแบบโบราณมาจากบรรจุภัณฑ์เหล้าหลงวอคือผลตอบแทนและความสําเร็จที่ยิ่งใหญ่ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ในครั้งนี้
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectบรรจุภัณฑ์ -- จีน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.subjectบรรจุภัณฑ์ -- การออกแบบ
dc.titleการผสมผสานระหว่างการออกแบบบรรจุภัณฑ์ร่วมสมัยกับภาพวาดชาวนาหู้เสี้ยน
dc.title.alternativeThe combination of contemporary packaging design and hu xian farmer paintings
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study Huxian farmer art paintings, contemporary packaging design technique and combination of contemporary packaging design technology with digital paintings of Huxian farmer. In addition to providinglocal knowledge to create and add value to the products for the community, packaging is also important that the advertising and public relations will support the learning and attraction of people from aroundthe world to experience the colorful culture and discover a new role for aesthetic taste as well as promoting the conservation of folk art for future generations to understand the life of a Huxian farmer. The research results as following: In 1988, Huxian district of Xi'an City, Shaanxi Province, People's Republic of China formally by the national Ministry of Culture named “China modern folk painting village”. In 2008, Huxian district of Xi'an was nominated again as “Chinese Folk arts Painting village” and people who live in this district call themselves as “Painting village”. Based on interviews from expert about Huxian district, there are three kinds of unique products which are Longwo wine, Wine grapes and noodle. However, packaging of Longwo wine is still out of date and not suitable for to the local context; so that researcher goes to study in Longwo brewery and takes a process of traditional Longwo wine fermenting to use as an inspiration for a farmer digital painting. Color and style of this design derive from the knowledge that the researcher has about farmer painting, but remains a rustic charm by offering local cultural elements with farmer paintings on Longwo wine package. The packaging has been designed to avoid over-packaging regarding to reuse. In addition, the researcher also conducted a survey to specialists and consumers to comply with the packaging beauty, tastes, and satisfaction of the consumer as possible. Huxian, where the general public does not know even people who live in Xi’an are unfamiliar, is now attractive to consumers again because many consumers have known farmer’s paintings and ancient Longwo wine fermenting method including Longwo wine packaging which are the reward and the great success of this design.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineทัศนศิลป์และการออกแบบ
dc.degree.nameศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf122.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น