กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12778
ชื่อเรื่อง: วัฒนธรรมชนกลุ่มน้อยเผ่าฮานี : การออกแบบและพัฒนาชุดผลิตภัณฑ์ชาผู่เอ๋อร์ จากลวดลายเครื่องแต่งกาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The culture of hani minority form clothes embroidery: the pu-erh tea set design
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสกสรรค์ ตันยาภิรมย์
ภรดี พันธุภากร
Yexin, Guo.
เย่ชิน, กั้ว
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
วัฒนธรรมจีน
ชนกลุ่มน้อย -- จีน
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมของชาผู่เอ๋อร์ และเครื่องแต่งกายของชนกลุ่มน้อยเผ่าฮานีในมณฑลยูนนานเพื่อใช้สําหรับออกแบบและพัฒนาชุดผลิตภัณฑ์ชาผู่เอ๋อร์ใหม่ที่สะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าฮานี ในมณฑลยูนนาน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันชุดผลิตภัณฑ์ชาผู่เอ๋อร์ยังขาดเอกลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็น ลักษณะเฉพาะทางด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นและต้นกําเนิดของชาผู่เอ๋อร์ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ออกแบบ แบบร่างและพัฒนาชุดผลิตภัณฑ์ชาผู่เอ๋อร์ใหม่จากการประยุกต์ใช้ลวดลาย รูปแบบและสีสัน บนเครื่องแต่งกายของเผ่าฮานี เมื่อนําแบบร่างไปดําเนินการสํารวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ด้วยแบบสอบถามพบว่า แบบร่างผลิตภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมสําหรับนํามาจัดทําเป็นต้นแบบ ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ บรรจุภัณฑ์เฉพาะหน่วย (ซองชา) แบบที่ 3 บรรจุภัณฑ์ชั้นใน (กระบอกไม้ไผ่และกล่องบรรจุชาไม้ไผ่) แบบที่ 1, 2, 5 บรรจุภัณฑ์ชั้นนอกสุด (ถุงผ้า) แบบที่ 1 ป้ายประชาสัมพันธ์ แบบที่ 3 แผ่นพับแบบที่ 2 การ์ดอวยพรแบบที่ 1 ผ้าปูโต๊ะแบบที่ 1 ชุดแก้วและกาน้ำชาแบบที่ 1 กระบอกใส่เครื่องชงชา แบบที่ 2 ชุดของขวัญ ชาผู่เอ๋อร์ขนาดทดลองและป้ายแขวนชาผู่เอ๋อร์/ ที่คั่นหนังสือ เมื่อผู้วิจัยนําต้นแบบชุดผลิตภัณฑ์ทั้ง 13 ชิ้นไปดําเนินการสํารวจความพึงพอใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้เชี่ยวชาญ เจ้าของธุรกิจและผู้บริโภคพบว่า ทั้งหมดมีความพึงพอใจ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าการออกแบบชุดผลิตภัณฑ์ ชาผู่เอ๋อร์เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคจําเป็นต้องทําให้ผู้บริโภคเข้าใจภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นด้วยถึงจะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่และกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงามสืบไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12778
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf132.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น